เด็กและเยาวชนที่ติดยาเสพติดที่เข้ารับการดูแลโดยสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ควรได้รับการส่งเสริมทักษะชีวิตในด้านต่างๆ เพื่อให้มีความพร้อมในการดำเนินชีวิตและไม่หันกลับไปเสพซ้ำเมื่อจำหน่ายออกไป การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมทักษะชีวิตและการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อการพัฒนาทักษะชีวิตและความตั้งใจในการเลิกยาเสพติดในเด็กและเยาวชนที่ถูกควบคุมตัวเพื่อรับการบำบัดยาเสพติดและได้รับการติดตามหลังปล่อยตัว จำนวน 42 คน ร่วมกับผู้ปกครอง 42 คน รวม 84 คน แบ่งกลุ่มเข้าร่วมโปรแกรมเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 20-24 คน (เด็กและเยาวชนคู่กับผู้ปกครอง) ทำกิจกรรมร่วมกัน 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง กิจกรรมในโปรแกรมประกอบด้วย การสร้างสัมพันธภาพ กิจกรรมโทษภัยของยาเสพติด กิจกรรมเส้นทางสู่การเลิกยา การใช้ชีวิตร่วมกับผู้ติดยา การสำรวจตัวเอง กิจกรรมครอบครัวกับการกลับไปเสพซ้ำ การเสริมสร้างศักยภาพครอบครัวและกิจกรรมเป้าหมายในชีวิต เก็บข้อมูลก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมเพื่อเปรียบเทียบกัน โดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย เครื่องมือวัดการพัฒนาทักษะชีวิต และความตั้งใจในการเลิกยาเสพติด สถิติที่วิเคราะห์ใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ dependent t-test ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการได้รับโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนการพัฒนาทักษะชีวิต และความตั้งใจในการเลิกยาเสพติดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.01) โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี เกิดจากการ ทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกัน มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็นโดยมีครอบครัวให้การสนับสนุนทำให้เด็ก และเยาวชนมีความเข้าใจตนเองและเห็นคุณค่าของครอบครัวมากขึ้น เกิดความตั้งใจต่อเนื่องที่จะพัฒนาทักษะชีวิตตนเองและตั้งใจที่จะไม่กลับไปเสพยาเสพติดซ้ำ Juvenile detainees who are on illicit drug abuse and who are under the supervision of the Venue of Youth Observation and Protection should obtain proper life skills training before they are released. This can help in preventing them from returning to illicit drug abuse. This quasi experimental study is to explore the effectiveness of the life skill promoting program and family participation on the life skills development and intention to quit using illicit drugs among juvenile detainees who are under the supervision of the Venue of Youth Observation and Protection. Study participants included 42 juvenile detainees along with their 42 guardians for a total of 84. They were divided into 4 groups, each group composed of 20-24 participants (one juvenile detainee paired with one guardian). Each group participated in the program twice, one week at a time, and each time, lasted 2 hours. The program offered 8 activities including: relationship building activity, activity on the danger of illicit drug use, activity on the pathway to quit drugs, activity on sharing with other drug abusers, self-discovery activity, family and return to drug addiction activity, family strengthening activity, and goal setting activity. The data were collected before and after the implementation of the program in order to make a comparison. The instrument was self- administered questionnaire composed of 2 parts: life skill development and the intention to quit drugs. The data were analyzed using descriptive statistic and dependent t-test. The results showed that after the program implementation, the average scores of life skills development in all aspects and the intention to quit drugs were statistically significantly greater than those before the program implementation (p <0.01). The important factor that supported these outcomes was the group activity along with family member participation. Participants were given the chance to share and discuss, especially on area of support from the family members enhanced family members’ relationship and understanding. The intention of which is to develop self-sufficient life skills to prevent drug use. And intend to not go back to drug repetition.