การส่งเสริมพัฒนาการทารกมักจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับช่วงวัย 2 เดือนแรก การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการให้สุขศึกษามารดาเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกวัย 2 เดือนแรกและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพในจังหวัดเชียงใหม่ที่ดูแลมารดาหลังคลอดและ/หรือทารกวัย 0-2 เดือนจำนวน 293 ราย ผลการวิจัยพบว่าการให้สุขศึกษาฯ มีคะแนนเฉลี่ย 51.54/100 (SD=20.31) จัดอยู่ในระดับปานกลางจากการแบ่งเป็น 5 ระดับคือ ต่ำมาก ต่ำ ปานกลาง สูง และสูงมาก การให้สุขศึกษาแบ่งเป็น 4 ด้านพบว่าคะแนนเฉลี่ยแต่ละด้านต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยด้านที่ 1 ให้ข้อมูลความเสี่ยงความรุนแรงของพัฒนาการล่าช้ามีคะแนนต่ำที่สุด ตามมาด้วยด้านที่ 4 ชักนำให้ปฏิบัติโดย บอกวิธีทำ สาธิต ทำเป็นแบบอย่าง ใช้สื่อ และมอบเอกสาร ด้านที่ 2 ให้ข้อมูลด้านประโยชน์ของการกระตุ้นพัฒนาการ และด้านที่ 3 ให้ข้อมูลว่าไม่มีอุปสรรค จากสถิติ t-test หรือ Mann Whitney U พบว่าคะแนนการให้สุขศึกษาฯ สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มต่อไปนี้ เพศหญิง อายุ 41-60 ปี มีบุตรแล้ว เคยอบรมเรื่องพัฒนาการเด็ก หรือมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการของทารก มากกว่า 60/100 คะแนน ดังนั้นควรมีการพัฒนาทักษะพยาบาลในการให้สุขศึกษาเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของทารก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มบุรุษพยาบาล อายุน้อย ยังไม่เคยมีบุตร หรือขาดความรู้ โดยเน้นการให้ข้อมูลมารดาเรื่องความเสี่ยงและความรุนแรงของพัฒนาการล่าช้า นอกจากนั้นควรจัดทำแผนการสอน สื่อ และมีเอกสารสำหรับมอบให้มารดา Promotion of infant development is unlikely to be focused on the first 2 months of age. This descriptive study aimed to explore health education of mothers for promoting development of 0-2 months old infants and related factors. The subjects were 293 professional nurses in Chiang Mai who worked with postpartum mothers and/or 0-2 months old infants. The results revealed that the average score of health education was 51.54/100 (SD=20.31), which felt into the moderate level from 5 levels of very low, low, moderate, high, and very high. Among 4 categories of health education, the average scores of all categories were significantly different. Category 1: informing risks and severity of delayed fetal development was at the lowest level, followed by category 4: cue to action by telling how to do, demonstration, being a role model, using audiovisual aids, and giving printed materials, category 2: informing benefits of promoting fetal development, and category 3: informing no barriers. Through t-test or Mann Whitney U test, higher scores of health education were found in the following groups: female, 41-60 years old, having children, having ever obtained training about child development, or having the score of knowledge on promoting infant development > 60/100. Nurses should be enhanced in their health education skills about infant development, especially those who are male, young, have no children, or have low knowledge, still need improvement of their health education skills. Training should be emphasized on giving information about risks and severity of delayed fetal development. In addition, health education plans, audiovisual aids, as well as printed materials for mothers should be developed.