เด็กไทยกำลังเผชิญกับปัญหาเรื่องเพศ ซึ่งปัญหานี้อาจจะลดลงได้ หากเด็กได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศที่เหมาะสมตั้งแต่ปฐมวัย แม้ว่าปัจจุบันเด็กสามารถเรียนรู้เรื่องเพศได้จากสื่อที่หลากหลาย แต่ยังต้องการคำแนะนำและการสอนเรื่องเพศ ซึ่งบิดามารดาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสอนเรื่องเพศให้แก่เด็ก การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน กับการสอนเรื่องเพศในเด็กปฐมวัยของบิดามารดา กลุ่มตัวอย่างคือบิดามารดาของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 303 ราย สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ คำนวณตามสัดส่วนและเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความรู้เรื่องเพศ แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และแบบสอบถามการสอนเรื่องเพศของบิดามารดา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงอันดับของสเปียร์แมน ผลการวิจัย พบว่า บิดามารดามีคะแนนเฉลี่ยความรู้และคะแนนเฉลี่ยการสอนเรื่องเพศอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนอยู่ในระดับมาก ความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการสอนเรื่องเพศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .34, p < .01 และ r = .73, p < .01 ตามลำดับ) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าบิดามารดาควรได้รับการส่งเสริมความรู้ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสอนมีเรื่องเพศในเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องเพศอย่างถูกต้อง Thai children are facing problems with sex education. The problems will be resolved, if they have an appropriate understanding sex in early childhood. Although, children can learn about sex through a variety of media, they also need guidance and sex education. The role of parents is important in teaching children about sex. This descriptive research aimed to study the correlation of parental knowledge, perceived self-efficacy in teaching sex education to young children. The sample consisted of 303 parents of young children in Chiang Rai, selected by Stratified and purposive sampling. The instruments of this study were knowledge of sex education in early childhood questionnaires, perceived self-efficacy questionnaires, and practice of sex education for young children by parent questionnaires. The data were analyzed using descriptive statistics and Spearman's rank correlation coefficient. The results show that parents had a moderate level of knowledge, a high level of perceived self-efficacy, and a moderate level of sex education. Perceived self-efficacy correlated with sex education (r = .34, p < .01; r = .73, p < .01). The results indicated that parents should be knowledgeable, have perceived self-efficacy, and promote sex education for young children to have knowledge and appropriate understanding of sex.