การเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ผ่านเว็บเป็นรูปแบบหนึ่งของการเสริมการเรียนรู้แบบดั้งเดิมในชั้นเรียน เพราะช่วยส่งเสริมความเข้าใจ ความสามารถในการจดจำ และความพึงพอใจต่อการเรียนการสอน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ผ่านเว็บด้านทักษะการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์สำหรับนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2)แบบทดสอบความรู้ระหว่างเรียนและหลังเรียน จำนวน 4 ฉบับ สำหรับประเมินความรู้เกี่ยวกับทักษะปฏิบัติทางการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ โดยผ่านการทดสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงของเนื้อหาเท่ากับ .81, .88, .89 และ .80 ตามลำดับ และทดสอบค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีคูเดอร์และริชาร์ดสัน 21 เท่ากับ .91, .88, .86, และ .93 ตามลำดับ และ 3) สื่อการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ผ่านเว็บด้านทักษะการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ การประเมินประสิทธิภาพของสื่อที่พัฒนาใหม่โดยใช้กลุ่มตัวอย่างทดสอบกับแบบรายเดี่ยว แบบกลุ่ม และกลุ่มภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบค่าที paired t-test ผลการวิจัยพบว่า สื่อการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ผ่านเว็บด้านทักษะการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.6 / 81.3 ซึ่งสอดคล้องตามเกณฑ์ที่กำหนด (80/80) ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการเสริมความรู้และช่วยปรับปรุงการฝึกปฏิบัติทางคลินิกกุมารเวชศาสตร์สำหรับนักศึกษาพยาบาลได้ To encourage understanding, retention, and satisfaction with instruction, the multimedia web-based learning is recognized as one of the alternative teaching techniques to supplement the traditional classroom style. This development research study aimed to develop and to evaluate the efficiency of an interactive web-based learning medias on pediatric nursing skills for student nurses, composed of tub-bath, suction, feeding, and oxygen. Fifty nurse students were chosen by simple random sampling. The research instruments, which were developed by the researcher, included 1) demographic data profile, 2) pre-and post knowledge assessments on pediatric nursing skills and satisfaction questionnaires. These pre-and post knowledge on four skills of pediatric nursing questionnaires were validated by the expert panel and the scale content validity index of scale was .81, .88, .89, and 80 respectively. The stability reliability by Kuder-Richardison formula 21(KR-21) values of the scale was acceptable at .91, .88, .86, and 93, respectively. And 3) an interactive web-based learning medias a newly developed by researcher. The efficiency of an interactive web-based learning media was tested through individual and small group use, and by field test. Data was analyzed using description statistic and paired t-test. The results showed that interactive web-based efficiency was 80.6/81.3indicating acceptable criterion (80/80). It can be used as a way to broaden the knowledge of pediatric nursing students and thus improve their practices of pediatric nursing practice.