ทารกเกิดก่อนกำหนดมักจะได้รับการกระตุ้นที่มากเกินไปจากสิ่งแวดล้อมภายในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด เนื่องจากเป็นสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างจากสภาพแวดล้อมในครรภ์ของมารดา ทำให้ส่งผลกระทบต่อระยะการนอนหลับของทารกเกิดก่อนกำหนด และส่งผลต่อการพัฒนาการของระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทสัมผัสที่ผิดปกติ การห่อตัวเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้ทารกเกิดก่อนกำหนดมีระยะการนอนหลับได้ยาวนานขึ้น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการห่อตัวและการได้รับการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาลต่อระยะเวลาหลับของทารกเกิดก่อนกำหนด โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีอายุหลังปฏิสนธิระหว่าง 32-36 สัปดาห์ ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 2 โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 14 ราย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มเดียวแบบไขว้ โดยกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาล และกลุ่มทดลองได้รับการห่อตัว ผู้วิจัยทำการสังเกตโดยการตั้งกล้องวีดิทัศน์เพื่อบันทึกภาพ ดูระยะการหลับของกลุ่มตัวอย่างและบันทึกระดับเสียง เป็นระยะเวลา 2 ชั่วโมง ผู้วิจัยทำการสังเกตการหลับตื่น โดยประเมินจากคู่มือการประเมินพฤติกรรมการหลับตื่นของทารกเกิดก่อนกำหนดของ (Thanacharoenpipat, 2001) บันทึกข้อมูลลงในแบบบันทึกระยะเวลาการหลับตื่นของทารกเกิดก่อนกำหนดและบันทึกระดับเสียงลงในแบบบันทึกข้อมูลสิ่งแวดล้อมของ (Kodyee, 2015) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบทีของประชากร 2 กลุ่มที่ไม่อิสระต่อกันและสถิติทดสอบวิลคอกซันสำหรับตัวอย่างคู่ ผลการศึกษาพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยระยะเวลาการหลับรวมของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการห่อตัวมากกว่าเมื่อได้รับการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) 2. ค่าเฉลี่ยระยะเวลาการหลับลึกของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการห่อตัวมากกว่าเมื่อได้รับการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การห่อตัวสามารถส่งเสริมให้ทารกเกิดก่อนกำหนดมีระยะการหลับรวมและระยะการหลับลึกมากกว่าทารกที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานทางการพยาบาล และยังสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมระยะเวลาการนอนหลับของทารกเกิดก่อนกำหนดให้เพิ่มมากขึ้น Preterm infants in the neonatal care unit receive excessive stimulation from the environment. This environment is different from the mother’s womb and affects sleep duration, the development of the central nervous system, and can lead to an abnormal sensory system in preterm infants. Fortunately, swaddling is a method that can be used to help preterm infants have longer sleep periods. The study aimed to compare the effects of swaddling and standard nursing care on the sleep states of preterm infants. Fourteen preterm infants postconceptional aged between 32-36 weeks admitted to neonatal care unit at Chiang Rai Prachanukroh Hospital were studied. The study used a one group cross-over experimental design. The control group received routine nursing care and the experiment group received the swaddle. The researcher observed and recorded by videotape the participant’s sleep and recorded the noise levels for a period of 2 hours. The researcher observed the sleep-wake states of preterm infants and recorded using Penjit Thanacharoenpipat’s methods and form (Thanacharoenpipat, 2001) . Environmental sound levels were also recored using Salisa Kodyee’s methods and form (Kodyee, 2015). The recorded data were analyzed using descriptive statistics as dependent sample t-test. Wilcoxon Matched Pairs Singed-Ranks Test was used for matched pairs. The study found that: 1. The mean duration of total sleep in the group using the swaddle was statistically significantly greater than the control group receiving routine nursing care (p<.05) 2. The mean duration of deep sleep in the group using the swaddle was statistically significantly greater than the control group receiving routine nursing care (p<.05) The findings of this study indicated that swaddling can promote a longer duration of deep sleep and greater total sleep than routine nursing care. This study could be used as a guide for improving the duration of sleep in preterm infants.