การเข้ามามีส่วนร่วมของผู้เป็นบิดาครั้งแรกในระยะหลังบุตรเกิดมีความสำคัญต่อภาวะสุขภาพทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคม ของบิดา มารดาและบุตร การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในผู้เป็นบิดาครั้งแรกในระยะหลังบุตรเกิด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เป็นบิดาครั้งแรกที่มีภรรยาอยู่ในระยะหลังบุตรเกิด 6 - 8 สัปดาห์ พาภรรยามารับบริการคลินิกตรวจหลังคลอดและพาบุตรมารับบริการคลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ และโรงพยาบาลลำพูน ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 120 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในระยะหลังคลอดของ ศุภกร ไชยนา และ นันทพร แสนศิริพันธ์ (2558) แบบสอบถามความเครียดของ สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, และ พิมพ์มาศ ตาปัญญา (2540) แบบวัดสมรรถนะของการเป็นบิดาของ ตติรัตน์ สุวรรณสุจริต, ภรณี วัฒนสมบูรณ์, แนน เกย์ลอร์ด, และ ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา (Suwansujarid, Vatanasomboon, Gaylord, & Lapvongwatana, 2013) และแบบสอบถามสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสของ พัชรินทร์ เราจุติธรรม (Raojutitham, 2006) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และถดถอยเชิงเส้นพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1. การเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในผู้เป็นบิดาครั้งแรกในระยะหลังบุตรเกิดอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 85.83 มีคะแนนเฉลี่ย 108.15 คะแนน (S.D. = 10.09) 2. สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสสามารถทำนายการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในผู้เป็นบิดาครั้งแรกในระยะหลังบุตรเกิดได้ร้อยละ 22.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการวางแผนการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในผู้เป็นบิดาครั้งแรกในระยะหลังบุตรเกิด Father involvement of first-time fathers in the postnatal period is important to health status of both parent and child physically, mentally and socially. The purpose of this predictive correlation research was to explore factors predicting father involvement among first-time fathers in the postnatal period. The participants were first-time fathers, who had wife with child aged 6 - 8 week. They took their wives to a postpartum check-up clinic and their child to the wellness baby clinic at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital, Health Promotion Center Region 1, Chiang Mai and Lamphun Hospital from March to May 2018. The participants were selected by conventional sampling following the inclusion criteria and consisted of 120 first-time fathers.The research instruments consisted of the Personal Data Record Form, the Father Involvement During Postpartum Period Questionnaire developed by Supakorn Chaina and Nantaporn Sansiriphun (2015), the Suanprung Stress Test-20 developed by Suwat Mahatnirunkul, Wanida Pumpaisalchai and Pimmas Tapanya (1997), the Parenting Sense of Competence Scale by Suwansujarid, Vatanasomboon, Gaylord, & Lapvongwatana (2013) and the Marital Relationship Questionnaire by Raojutitham (2006). Descriptive statistics and Stepwise multiple linear regression analysis were used to analyze the data. Results of the study: 1. Father involvement in first-time fathers in the postnatal period was at a high level (85.83%) and mean score was 108.15 (S.D. = 10.09) 2. Marital relationship that was statistically significant can predict father involvement among first-time fathers in the postnatal period at 22.8% (p < .001) Results from this study could be used as baseline data for planning effective nursing care to promote first-time father involvement in the postnatal period.