ผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดภายหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดต้องมีความรับผิดชอบและความละเอียดรอบคอบ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัดที่อาจเกิดขึ้น ทำให้ผู้ดูแลเกิดความรู้สึกว่าการดูแลเด็กป่วยมีความยากลำบาก และเป็นภาระในการดูแล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาระของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดภายหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ได้แก่ สมรรถนะแห่งตนในการดูแล และการสนับสนุนทางสังคม โดยใช้แนวคิดภาระการดูแลของ Chou (2000) ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดภายหลังได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดที่มีอายุระหว่าง 1-5 ปี ที่มารับการตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลตติยภูมิ 3 แห่ง ในภาคเหนือ ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 จำนวน 85 ราย และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแล และเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดภายหลังได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด แบบวัดภาระของผู้ดูแล แบบวัดสมรรถนะแห่งตนในการดูแล และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .88 .99 และ .93 ตามลำดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .80 .91 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สันและแบบสเปียร์แมน ผลการวิจัยมีดังนี้ ผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดภายหลังได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดมีภาระในการดูแลอยู่ในระดับน้อย สมรรถนะแห่งตนในการดูแลและสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางลบกับภาระของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดภายหลังได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.53, p < .01 , r = -.38, p < .01) ตามลำดับ ผลการวิจัยในครั้งนี้ช่วยให้บุคลากรทางการพยาบาลมีข้อมูลพื้นฐานในการวางแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อให้การสนับสนุนทางสังคม และส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลในการดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดภายหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดเพื่อลดภาระของผู้ดูแล และสามารถให้การดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ Caregivers of children with congenital heart disease after open heart surgery must take responsibility and be cautious to prevent possible complications after children have undergone open heart surgery. Thus, caregivers may feel that the care of their child is also a burden. The purpose of this correlational descriptive research was to examine factors related to caregiver burden, including perceived caregiving self-efficacy and social support. The concept of caregiver burden from Chou (2000), alongside a literature review, was used as the framework for this study. The study samples were selected by purposive sampling and included 85 caregivers of children (aged 1 to 5 years) with congenital heart disease after open heart surgery, who visited the pediatric out-patient departments of three tertiary hospitals in northern Thailand during October 2015 to January 2016. Data were collected using questionnaires which consisted of the Caregiver Burden Questionnaire, the Caregiving Self-efficacy Questionnaire, and the Social Support Questionnaire. The content validity of these questionnaires were .88 .99 and .93, respectively and the reliability were .88 .99 and .93 respectively. Data were analyzed using descriptive statistics, Pearson’s correlation coefficient, and Spearman rank correlation. Findings of this study showed caregivers of children with congenital heart disease after open heart surgery had the burden of care at a low level. Perceptions of caregiving self-efficacy and social support showed a statistically significant negative relationship with caregiver burden (r = -.53, p < .01, r = -.38, p < .01). The results of this study serve as preliminary information for nurses to use to promote social support and perceived self-efficacy of caregivers regarding home care of children with congenital heart disease after open heart surgery so as to minimize caregiver burden and enable them to provide care effectively.