ผู้วิจัยได้จัดโปรแกรมการอบรมเชิงปฏิบัติให้แก่แกนนำชุมชนเพื่อเพิ่มศักยภาพการสื่อสารในชุมชนสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็ก ผู้เข้าอบรมประกอบด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ของสถานีอนามัย ศูยน์พัฒเด็กเล็กและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและกลุ่มแม่บ้าน จากจังหวัดเชียงใหม่(38คน)และจังหวัดแม่ฮ่องสอน(30คน)การอบรมเชิงปฏิบัติใช้เวลา 3วันประกอบไปด้วย 4ส่วน คือ แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ แบบแผนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทุนทางสังคม และทักษะการสื่อสาร กิจกรรมการอบรมประกอบด้วยการบรรยาย การอภิปราย การสาธิต และการฝึกปฏิบัติ ประเมินผลด้วยการวัดก่อนและหลังการอบรมเกี่ยวกับความรู้เรื่องแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ความรู้เรื่องแบบแผนการเปลี่ยนแปลงพฏติกรรม และความรู้เรื่องทุนทางสังคมและการประเมินตนเองเรื่องทักษะการสื่อสาร ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดเท่ากับ 0.78, 0.62, 0.87 และ0.71 รวมทั้งมีการสนทนากลุ่ม จากสถิติการทดสอบที พบว่าคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นเฉพาะผู้เข้าอบรมจังหวัดเชียงใหม่(p<0.01)คะแนนความรู้เรื่องทุนทางสังคม(p<0.001)และคะแนนทักษะการสื่อสารเพิ่มขึ้นทั้งสองกลุ่ม(p<0.001)ข้อเสนอแนะคือควรเพิ่มระยะเวลาและกิจกรรมการอบรมในหัวข้อแบบแผนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และควรมีการติดตามประเมินผลในระยะยาวโดยมีการประเมินผลเรื่องทักษะการสื่อสารด้วยการสังเกต