บทคัดย่อ การศึกษาความต้องการของหญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในระยะคลอดครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงความต้องการการพยาบาลของมารดาและความต้องการการ พยาบาลที่ได้รับการตอบสนอง ในระยะแรกรับ ระยะปากมดลูกเปิด ระยะเบ่งและระยะสองชั่วโมงภายหลังเด็กเกิด ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาที่มาคลอดในห้องคลอด โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ในระยะ 12 ถึง 24 ชั่วโมงแรก ภายหลังคลอด จำนวนทั้งมหด 200 คน แบ่งเป็นมารดาคลอดปกติครรภ์แรก 50 คน มารดาคลอดปกติครรภ์หลัง 50 คน มารดาคลอดผิดปกติ 50 คน มารดาที่คลอดโยได้รับยาระงับความเจ็บปวดทางไขสันหลัง 50 คน เลือกกลุ่มตัวอยา่งแบบเฉพาะเจาะจง ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นแบบประมาณค่า วิเคราะห์ ข้อมูลโดยหาความถี่และอัตราร้อยละเป็นรายข้อ เปรียบเทียบความต้องการการพยาบาลในระยะคลอดระหว่างกลุ่มมารดาที่คลอดปกติครรภ์แรกและครรภ์หลัง มารดาที่คลอดปกติและคลอดผิดปกติ มารดาที่คลอดปกติและคลอดโดยได้รับยาระงับความเจ็บปวดทางไขสันหลัง ทำการทดสอบความแตกต่าง โดยใช้ ไคสแคว์ (Chi-Square) ผลทีไ่ด้จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความต้องการการพยาบาลในทุกระยะของการคลอด ในระดับมาก มีเพียงส่วนน้อยที่มีความต้องการ ในระดับน้อย ส่วนความต้องการการพยาบาลที่มารดาได้รับการตอบสนองในระยะคลอด พบว่า สว่นใหญ่มารดาได้รับการตอบสนองในระดับมาก บางส่วนได้รับการตอบสนองน้อย และไม่ได้รับการตอบสนองเปรียบเทียบความต้องการการพยาบาล ระหว่างกลุ่มมารดา พบว่า มารดาที่คลอดปกติครรภ์แรก และครรภ์หลังมีความต้องการการพยาบาลเพียงส่วนน้อยที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 มารดาที่คลอดปกติและคลอดผิดปกติ มีความต้องการ การพยาบาลเพียงบางส่วนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนมารดาที่คลอดปกติและคลอดโดยได้รับยาระงับความเจ็บปวดทาง ไขสันหลัง มีความต้องการการพยาบาลส่วนใหญ่ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 Abstract : This descriptive study was conducted to investigate the nursing needs of mothers and the nursing care given that meet the mother's need during the stages of labor, on admission, stage of cervical dilatation, stage of expulsion and 2 hours post delivery. The study was performed on 200 mothers, 12-24 post delivery in Maharaj Nakorn Chiang Mai hospital, by purposive random sampling to include 50 primipara and 50 multipara mothers with normal deliverly. another 50 mothers with abnormal delivery, and the rest were 50 mothers with continous epidural anesthesia. Self-contructed rating scale questionaires were used. The data was analized in frequency and percentage, and Chi-square test was used to analize the nursing needs difference among mother groups. The results revealed that the most nursing needs of mothers were in high level, few were inlow level. The most nursing care given were met to the mother's need in high level, some were met in low level and some were not met to the mother's needs. It was found that few nursing needs between primiparous mothers and multiparous mothers with normal labour was significant difference (P < .05), some nursing needs between mothers with normal labour and mothers with abnormal labour was significant difference (P < .05) , and it was also found that most nursing needs between mothers with normal labour and mothers with continuous epidural anesthesia was significant difference (p < .05)