บทคัดย่อ : ความต้องการพยาบาลระดับบัณฑิตศึกษา การวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงการกระจายของพยาบาลและแนวโน้มความต้องการพยาบาลระดับบัณฑิตศึกษา ใน 5 ปีข้างหน้าของหน่วยงานต่าง ๆ ใน ประเทศไทย ในด้านจำนวนและสาขาวิชาที่มีความต้องการ ประชากรที่ศึกษา เป็นหน่วยงานที่คาดว่ามีความต้องการพยาบาลระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ซึ่งได้แก่ คณะพยาบาลศาสตร์ สังกัด ทบวงมหาวิทยาลัย วิทยาลัยพยาบาลทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข สถาบันการศึกษาพยาบาลเอกชน โรงเรียนผดุงครรภ์ หน่วยงานสนับสนุน วิชาการ ในกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลต่าง ๆ และสำนักงานสาธารณสุขทั่วประเทศ โดยส่งแบบสอบถามไปยังผู้บริหารของหน่วยงานดังกล่าว รวม 231 ฉบับ ได้รับตอบกลับมา 202 ฉบับ (87.4%) ผลการศึกษาพบว่า จำนวนพยาบาลจากหน่วยงานทั้งหมดที่ศึกษา มี 14.520 คน เป็นผู้มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก 13 คน ผู้มีคุณวุฒิระดับปริญญา โท มีจำนวน 579 คน ผู้มีคุณวุฒิระดับปริญญาตรี มีจำนวน 7.355 คน และต่ำกว่าปริญญาตรีมีจำนวน 6.573 คน เมื่อพิจารณาถึงสัดส่วนการกระจายของ พยาบาลตามคุณวุฒิแล้ว พบว่า ในจำนวนพยาบาล 100 คน จะมีคุณวุฒิปริญญาเอก : ปริญญาโท : ปริญญาตรี : ต่ำกว่าปริญญาตรี เท่ากับ 0.1 : 3.9 : 50.7 : 45.3 ผู้มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกและปริญญาโทส่วนใหญ่ปฏิบัติงานในสถาบันการศึกษาพยาบาล จากหน่วยงานที่ศึกษา 202 แห่ง ปรากฎว่ามีความต้องการพยาบาลระดับปริญญาโท 171 แห่ง (87.7%) จำนวนรวมทั้งสิ้น 1.654 คน อีก 31 แห่ง (15.3%) ยังไม่มีความต้องการโรงพยาบาลต่าง ๆ มีความต้องการเป็นจำนวนสูงสุดคือ 636 คน (38.5%) รองลงมาได้แก่ สำนักงานสาธารณสุข ต้องการ จำนวน 388 คน (23.5%) วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุขต้องการจำนวน 277 คน (16.8%) ส่วนหน่วยงานอื่น ๆ มีความต้องการใน จำนวนที่ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่เมื่อเปรียบเทียบความต้องการเฉลี่ยต่อหน่วยงานพบว่า คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐ มีความต้องการพยาบาล ระดับปริญญาโท เฉลี่ย 15 คน ต่อสถาบัน ซึ่งเป็นจำนวนความต้องการที่สูง เป็นอันดับแรกในหน่วยงานทั้งหมดที่ทำการศึกษา สาขาวิชาที่มีความต้องการมก 3 อันดับแรกคือ สาขาวิชาการพยาบาลสาธารณสุข ต้องการจำนวน 351 คน (21.2%) รองลงมาคื อสาขาวิชาบริหาร การพยาบาล ต้องการจำนวน 269 คน (16.3%) และสาขาวิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ - ศัลยศาสตร์ ต้องการจำนวน 256 คน (15.5%) เมื่อเปรียบเทียบความต้องการของแต่ละหน่วยงาน พบว่า ในหน่วยงานต่าง ๆ มีความต้องการในสาขาวิชาที่เป็นอันดับแรกแตกต่างกัน คือ หน่วยงาน ด้านการ ศึกษา มีความต้องการสาขาวิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์- ศัลยศาสตร์ หน่วยงานด้านบริการ มีความต้องการสาขาวิชาบริหารการพยาบาล ส่วนหน่วยงาน ด้านบริหาร ต้องการสาขาวิชาการพยาบาลสาธารณสุขเป็นอันดับแรก หน่วยงานที่มีความต้องการพยาบาลระดับปริญญาเอกมี 56 แห่ง (27.7%) จากหน่วยงานทั้งหมดที่ศึกษา และมีความต้องการจำนวน 189 คน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐ มีความต้องการจำนวนมากเป็นอันดับแรกคือ 66 คน รองลงมาคือ โรงพยาบาลต่าง ๆ ต้องการจำนวน 54 คน และวิทยาลัยพยาบาล ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ต้องการ 28 คน ส่วนหน่วยงานอื่น มีความต้องการในจำนวนที่ลดหลั่นกันตามลำดับ เมื่อพิจารณา ความต้องการเฉลี่ยต่อหน่วยงาน พบว่า คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐ มีความต้องการเฉลี่ยต่อสถาบันสูงสุดคือ 7.3 คน ต่อสถาบัน สาขาวิชาที่มีความต้องการมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ ต้องการจำนวน 68 คน สาขาวิชาบริหารการพยาบาลต้องการจำนวน 36 คน และสาขาวิชาบริหารการพยาบาลต้องการจำนวน 33 คน เมื่อเปรียบเทียบความต้องการสาขาวิชาต่าง ๆ ของหน่วยงานแต่ละด้านแล้ว หน่วยงาน ด้านการศึกษาและด้านบริการ มีความต้องการสาขาพยาบาลศาสตร์ ซึ่งเน้นเป็นผู้ชำนาญเฉพาะทางเป็นอันดับแรก ส่วนหน่วยงานด้านบริหาร มีความต้องการ สาขาวิชาการพยาบาลสาธารณสุขเป็นอันดับแรก Abstract : The purpose of this study is to find out the distribution and the future need of graduated nurses in the health institutions in Thailand in the next 5 year. The material for this study was obtained from the administrators of private and government sections such as faculties and colleges of nursing, supportive departments in ministry of public health, hospital and provincial health offices. 231 questionaire were sent out and 202 responses were received (87.4%) The result shown that, at the time of this study in Thailand there are 13 nurses in practice holding a docterate, 579 with a master's, 7,355 with a bachelor's and 6,573 with a qualification lower than bachelor's. The ratio between those holding docterate's, master's, bachelor's and lower than bachelor's is 0.1 : 3.9: 50.7 : 45.3. Most of the nurses with a docterate's master's are working in nursing school. 171 (87.7%) out of 202 administrators in health institutions expressed a total need for 1,654 nurses holding master degree in the next 5 years. Hospitals need 636 (38.5%), public health offices need 388 (23.5%), nursing colleges in ministry of public health need 277 (16.8%) and the rest are needed by other institutions. Comparing the need in various institutions, faculty of nursing need the highest number, averaging 15 nurses per institution. The three most highly needed types of nurses holding a master's is 351 public health nurses (21.2%), 269 nursing administrators (16.3%) and 256 medical-surgical nurses (15.5%). In that order, whereas for those holding a master's, educational institution and hospitals's priority is for medical-surgical nurses and administrative section for public health nurses. 56 institution (27.7%) out of 202 expressed a need into the next 5 years for 189 nurses holding a docterate. Of theses 189, 66 are needed by faculty of nursing, 54 by hospitals, 28 by nursing colleges and the rest needed by other types of institutions. Each faculty of nursing needed an avarage total of 7.3 nurses holding docterates. For nurses with docterates, the need in order of priorty was for those who had majored in nursing (68), educational administrative nursing (36) and nursing administrator (33).