บทคัดย่อ : การศึกษาความรู้และความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่ออาสาสมัครสาธารณสุขและการให้บริการอนามัย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ความคิดเห็น และการใช้บริการอนามัยของประชาชน จากอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน จังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนบทบาทและสัดส่วนของการให้บริการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคโดยอาสาสมัครสาธารณสุข ตัวอย่างที่ศึกษา ได้มา จากการสัมภาษณ์ประชากร 2 กลุ่มคือ ประชาชน จำนวน 510 คน และอาสาสมัครสาธารณสุขที่เป็น อสม. และ ผสส. จำนวน 67 คน จาก 10 หมู่บ้าน ใน 4 ตำบล ของอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ การเลือกตัวอย่างใช้แบบการสุ่มตัวอย่างแบบสุ่มหลายขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ร้อยละ 73.7 ของตัวอย่าง ทราบว่าในหมู่บ้านมี อสม. และ ผสส. ส่วนวิธีการคัดเลือกนั้นที่ตอบว่า ชาวบ้านเป็นผู้คัดเลือกอาสาสมัครมีร้อยละ 31.6 ส่วนอีกร้อยละ 27.8 ตอบว่า กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นผุ้คัดเลือก ผุ้ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้คัดเลือกมีถึงร้อยละ 36.3 ส่วนบทบาทของ อาสาสมัครส่วนใหญ่ทราบยังไม่ถูกต้อง โดยเข้าใจว่า อสม. มีบทบาทเช่นเดียวกับ ผสส. แต่ทำมากกว่า ร้อยละ 27.7 ของกลุ่มตัวอย่างเคยติดต่อขอความช่วยเหลือจากอาสาสมัครสาธารณสุข และมีความพอใจในความช่วยเหลือของอาสาสมัครสูงถึงร้อยละ 95 ส่วนวิธีการคัดเลือกนั้นประมาณร้อยละ 50 เห็นว่าชาวบ้านควรเป็นผู้เลือกอาสาสมัครเอง ในการใช้บริการอนามัยจากอาสาสมัครสาธารณสุข พบว่า ไปขอซื้อยามากที่สุด (57.4%) รองลงมาได้แก่ การไขอรับการรักษาเพราะเจ็บป่วย (19.6%) ขอคำแนะนำด้านอนามัย (6.7%) และขอให้พาไปหาหมอที่โรงพยาบาล (5.4%) การศึกษาจากอาสาสมัครพบว่า เกือบทั้งหมด (94%) ทำงานด้านบริการสาธารณสุขด้วยความสมัครใจ มีเพียงร้อยละ 6 เท่านั้น ที่ถูกขอร้องให้เป็น แรงจูงใจที่ทำให้อยากเป็นก็เพื่อจะได้มีส่วนช่วยเหลือชาวบ้าน (71.6%) ถือว่าเป็นบทบาทที่มีเกียรติ (7.5%) ได้รับสิทธิการรักษาพยาบาล (6%) และ มีความรู้เพิ่มขึ้น (4.4%) ลักษณะการให้บริการพบว่าชาวบ้านไปติดต่อน้อยกว่าที่อาสาสมัครไปให้คำแนะนำแก่ชาวบ้าน นอกจากนี้อาสาสมัครกว่าครึ่ง ได้รับคำชมเชยจากชาวบ้าน สัดส่วนในการให้บริการพบว่า อาสาสมัครให้บริการด้านการดูแลรักาาพยาบาลผู้ป่วยมากกว่าการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค กล่าวคือ เคยส่ง ผู้ป่วยไปรักษาต่อร้อยละ 59.7 ได้เคยติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อดูแลอาการป่วยถึงร้อยละ 83.1 ส่วนคำแนะนำที่ให้จะเกี่ยวข้องกับการใช้บริการสถานีอนามัย ร้อยละ 37.3 การปฏิบัติตัวด้านการดูแลสุขภาพอนามัยร้อยละ 32.2 การใช้ยาร้อยละ 20.5 อาหารร้อยละ 5.1 และเรื่องส้วม ร้อยละ 3.3 จากการทดลองทางสถิติด้วยไคสแคว์ พบว่า อายุ ระดับการศึกษา รายได้ และอาชีพของประชาชนที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อความรู้รู้เกี่ยวกับการใช้บริการ ด้านอนามัยของอาสาสมัครสาธารณสุข แต่อายุและการศึกษามีผลต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับบริการอนามัยที่ได้รับ Abstract : A study of villager's knoledge and opinions regarding health volunteers and their health services. The study was aimed at identifying the villagers' knowledge and opionions about health volunteers and their services in Chiang Mai Province. Moreover, their actual roles as perceived by villagers and the proportion prevention were also examined. Research samples were 510 villagers chosen via the stratified random sampling teachnique from 10 villages in 4 sub-districts of Doi Saket District, Chiang Mai Province and all 67 village health volunteers and health reporters in the study areas. Research finding are as follows : As regards the villagers, 73% of them reported they were aware of the existence of the two types of volunteers in their villages. Howerve, 31.6% thought the volunteers were selected by villagers and 27.8% by sub-district and village headmen and government health officials. And 36.3% said they did not know who selected them. In addition, the majority of villagers had incorrect perception of the volunteers' role thinking that village health volunteers did the same thing as village health reporters but more. 27.7% of villagers reported having contracted and asked for help from health volunteers and 95% of these villagers were hightly pleased by the help. As far as the selection issue was concerned, 50% were of the opinion that villagers should choose the volunteers themselves. It was also found that of those who went to health volunteers for health services, the majority, 57.4% wanted to buy medicine; 19.6% went for treatment due to sickness; 6.7% went for health- relaed advice; and 5.4% asked village volunteers to take them to hospital. As far as the volunteers themselves were concerned, almost all, 94%, voluntarily worked as health volunteers. Only 6% reported having been asked to do so. The desire to help other villagers constituted a motivating force for the majority, 71.6% to work as volunteers while 7.5% thought it was a praiseworthy thing to do; 6% wanted to enjoy the medical care privilege and 4.4% cited increased knowledge as a motivation factor. However, it was found that villagers went to the volunteers for services less than the latter going to give advice to the former. And more than half of the latter were given words of praise by the former. As regards the service proportion, it was found that the curative services outnumbered those of health promotion and disease prevention. The practice of curative involved 59.7% of volunteers as to refer the sick to hospitals and 83.1% to do home visiting for the sick. As regards the advice for villagers, 32.2% of volunteers advice regarding the utilization of health services at health centers, 37.3% give advice related to self-care practice, 20.5% advice on use of medicine, 5.1% dietary practices,and 3.3% on use of toilet. A chi-square test shows that villagers' different age, levels of education, income and occupationexerted no impact upon their knowledge about the utilization of health volunteers' health services. However, age and education factors did affect their opinions regarding health services they recieved.