บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้ ความคิดเห็นเกี่ยวกับเพศศึกษา พฤติกรรมทางเพศ และแหล่งข้อมูลความรู้ ระหว่างนักเรียน นักศึกษาชายหญิง ผู้ที่พักอาศัยในเขตและนอกเขตเทศบาล และสถาบันการศึกษาที่ต่างกัน 3 ระดับ ในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ มัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีวศึกษา และมหาวิทยาลัย โดยแจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง 1,000 ชุด ได้แบบสอบถามที่สมบูรณ์คือ 966 ชุด (คิดเป็นร้อยละ 91.60) วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวน การทดสอบค่าทีและไค-สแคว์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เพศศึกษาอยู่ในเกณฑ์ดี (ความรู้ทั่วไป การวางแผนครอบครัว การคุมกำเนิด การตั้งครรภ์และการแท้ง) แหล่งข้อมูล ความรู้ที่สำคัญคือ ครู อาจารย์ นิตยสาร ตำรา วิดีทัศน์ และเพื่อน ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ส่วนประสบการณ์ทางเพศพบว่า เกือบครึ่ง หนึ่งที่เคยสำรวจความใคร่ด้วยตนเองและครั้งแรกเมื่ออายุ 15 - 19 ปี สาเหตุคือ การอ่านหนังสือพิมพ์ ชมภาพยนตร์ และคำบอกเล่าของเพื่อน ประมาณ 1 ใน 3 ของกลุ่มตัวอยางที่เคยมีเพศสัมพันธ์ และครั้งแรกเมื่ออายุ 15 - 19 ปี ชายมีประสบการณ์กับหญิงโสเภณี หญิงกับเพื่อนชาย ร้อยละ 55.9 ที่เคยตรวจ โรคเพศสัมพันธ์และผลการวินิจฉัยเป็นกามโรคร้อยละ 21.1 คุมกำเนิด ร้อยละ 11.3 โดยใช้ถุงยางอนามัย นับระยะปลอดภัยและยาเม็ดคุมกำเนิด โดยรับจาก เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย มีเพียงร้อยละ 4.15 เคยทำแท้ง (กลุ่มตัวอย่างหญิงและคู่นอนของกลุ่มตัวอย่างชาย) เกี่ยวกับแหล่งความรู้พบว่า แหล่งความรู้เพศศึกษาและการคุมกำเนิดต่างกันคือ เพศหญิงได้รับความรู้จากครู อาจารย์ พี่น้องเพศเดียวกัน บิดามารดา และตำรา ขณะที่ชายได้รับความรู้จากเพื่อน วิดีทัศน์ วิทยุ นิตยสาร และหนังสือพิมพ์ ผู้ที่พักอาศัยในเขตเทศบาลได้รับความรู้จากเพื่อน พี่น้องเพศเดียวกัน บิดามารดา และตำรามากกว่าผู้ที่อยู่นอกเขตเทศบาล ผู้ที่ศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้รับความรู้จากครู อาจารย์มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ แต่ผู้ที่ศึกษาระดับ มหาวิทยาลัยได้รับความรู้จากแหล่งนี้น้อยกว่ากลุ่มอื่น ความรู้ ความคิดเห็นเกี่ยวกับเพศศึกษา และพฤติกรรมทางเพศของกลุ่มตัวอย่างต่างกันเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศชายหญิง สถานที่พักอาศัย และระดับ การศึกษา Abstract The purposes of this study were to investigate and compare knowledge, opinion on sex education, sexual behavior and sources of knowledge between male and female students who lived within and outside municipality and those who studied at three different levels of educational institutes in Chiang Mai province that is high schoo, vocational college and university. The total of 1000 questionnaire were provided to sample group and 966 questionnaire (91.60%) were completed and returned. The data were analyzed by percentage, mean, One Way Analysis of Variance, t-test, and chi-square. The results of this study indicated that The majority of the samples had good knowledge in sex education (general knolwledge, family planning, birth control, pregnancy and abortion). Teachers, magaizines, books, video tapes and friencds were the main sources of their knoledge,. The majority of them had good opinion. On part of sex experience, it was found that nearly half of the samples practices masturbation for the first time at the age of 15 - 19 year old. Newspaper, movies and friends played an important role in this case. One-third of the samples had their first sexual intercourse at the age of 15-19 year old. The male experienced with the prostitutes and the female experienced with boy friends. About 55.9% book a laboratory test for sexually transmitted diseases and of these 21.1% were diagnosed of venereal diseases. In case of birth control 11.3% used condoms, salety peroid and pill provided by health personel at the health center. Only 4.15% ex[erienced with criminal abourtion (female and male's partner) Regarding to the sources of knowledge, it was found that their sources of knowledge in sex education and birth control were quite different. Female students gained much of knowledge from teachers, sisters, parents, and books while male got it from friencds, video tapes, radio, magazines and newpaper. Students who lived within municipality gained their knoledge from friends, brothers or sister of the same sex, parents and books more than those who lived outside. The students who were studying at vocational institutes gained knowledge from friends, magazines and newspapers more than the other groups and those who were studying at high school obtained knoledge from teachers more than the other groups but those who were studying at university gained knoledge from these sources less than the other groups. Knowledge, opinion of sex education and sexual behavior of samples varied according to sex, residence and the level of their education.