บทคัดย่อ การศึกษาค่าใช้จายในการผ่าตัดต้อกระจก มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยต้อกระจกที่มารับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป ตั้งแต่มารับการตรวจครั้งแรกจนได้รับการผ่าตัดและได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน และเปรียบเทียบความพึงพอใจของ ผู้ป่วยตลอดจนคุณภาพของการรักษาพยาบาลและอาการแทรกซ้อนของการรักษาในโรงพยาบาลทั้ง 3 ระดับ ในเขตภาคเหนือ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดต้อกระจกในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย 119 ราย โรงพยาบาลศูนย์ 137 ราย และโรงพยาบาลทั่วไป 131 ราย รวมทั้งสิ้น 387 ราย สำหรับโรงพยาบาลทั่วไปศึกษาจาก 3 โรงพยาบาลคือ โรงพยาบาลเชียงใหม่ โรงพยาบาลเชียงราย และโรงพยาบาลกำแพงเพชร รวบรวมข้อมูลโดยการ สัมภาษณ์ และการศึกษาจากเวชระเบียนของผู้ป่วย จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิตินอนพาราเมตริก มีข้อค้นพบดังนี้ ค่าใช้จายในการมารับการรักษาตั้งแต่มารับการตรวจครั้งแรก จนได้รับการผ่าตัดและได้รับอนุญาตให้กลับบ้านได้นั้นผู้ป่วย 1 ราย เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 480 บาท ถึง 37,842 บาท ซึ่งคิดเป็นมัธยฐานได้ประมาณ 3,840 บาท จำแนกเป็นค่าใช้จ่ายก่อนผ่าตัดประมาณ 132 บาท ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นค่าเดินทาง รองลงมาเป็นค่าอาหาร ส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายระหว่างผ่าตัดประมาณ 3,682 บาท ส่วนใหญ่คือ ร้อยละ 92.5 จะเป็นค่ายา เวชภัณฑ์ และค่าผ่าตัด คือ ประมาณ 3,405 บาท และผู้ป่วยจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเสียค่าใช้จ่ายในด้านนี้สูงกว่าผู้ป่วยจากโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปคือ ประมาณ 3,700 บาท 2,315 บาท และ 2,080 บาท ตามลำดับ ในการเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่เป็นค่ายา เวชภัณฑ์ และค่าผ่าตัด ตามจำนวนตาที่ผ่าตัดและการใส่หรือไม่ใส่เลนส์เทียม พบว่า ในการผ่าตัดตาสองข้าง ผู้ป่วยจะเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าผู้ที่ผ่าตัดตาข้างเดียวประมาณเกือบ 2 เท่า ไมว่ากรณีที่ผ่าตัดตาโดยใส่เลนส์เทียมหรือไม่ใส่ นอกจากผู้ป่วยจากโรงพยาบาล มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลกำแพงเพชรเท่านั้นที่ผู้ป่วยเสียค่าใช้จ่ายในกรณีดังกล่าวไม่แตกต่างกัน และผู้ป่วยที่ผ่าตัดตาโดยใส่เลนส์เทียมเสีย ค่าใช้จ่าย มากกว่าผู้ที่ไม่ใส่เลนส์เทียมเกือบ 3 เท่า นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยจากโรงพยาบาลกำแพงเพชรเสียค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดในการผ่าตัดตาโดยไม่ใส่เลนส์เทียมคือ 515 บาท ต่อผู้ป่วย 1 ราย ในกรณีผ่าตัดตาข้างเดียวและ 655 บาท ในกรณีผ่าตัดตาสองข้าง ผู้ป่วยจาก โรงพยาบาลเชียงราย เสียค่าใช้จ่ายในการผ่าตัด ตาสองข้างและใส่เลนส์เทียมสูงกว่าที่อื่น ๆ คือ 22,687 บาท ต่อผู้ป่วย 1 ราย เกี่ยวกับคุณภาพและความพึงพอใจในการรักษาพยาบาลนั้น พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ตัดสินใจมารับการรักษาต่อเมื่อมีอาการมากแล้ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่ ประมาณร้อยละ 89 ถึง 96 ได้รับการตรวจทางห้องทดลองก่อนผ่าตัด ซึ่งจำนวนแตกต่างกันตามระดับของโรงพยาบาล ขณะผ่าตัดพบว่า ผู้ป่วยมีอาการ แทรกซ้อนไม่มากนัก ซึ่งพบสุงสุดในโรงพยาบาลศูนย์ประมาณร้อยละ 12 รองลงมาเป็นผู้ป่วยจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลทั่วไป ระยะ เวลาที่ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดจนถึงวันที่กลับบ้านได้นั้น แตกต่างกันตามจำนวนตาที่ผ่าตัดและการใส่หรือไม่ใส่เลนส์เทียม แต่จะอยู่ในช่วงประมาณ 4 วันถึง 9 วัน เป็นส่วนมาก ด้านความคิดเห็นที่มีต่อแพทย์และพยาบาลนั้น พบว่า ผู้ป่วยจากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลศูนย์ มีความพึงพอใจมากต่อแพทย์ในด้าน ต่าง ๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยจากโรงพยาบาลศูนย์เกือบทั้งหมดที่แสดงความพึงพอใจมาก และพบว่าในด้านการให้เวลาของแพทย์และพยาบาลในการซักถาม พูดคุยกับผู้ป่วยนั้น ผุ้ป่วยส่วนมากมาจากโรงพยาบาลทั้ง 3 ระดับ แสดงความพึงพอใจปานกลาง แต่ผู้ป่วยจากโรงพยาบาลศูนย์มีแนวโน้มจะมีความพึงพอใจ มากกว่าผุ้ป่วยจากโรงพยาบาลอื่น ๆ ส่วนผู้ป่วยจากโรงพยาบาลทั่วไปมีความพึงพอใจในด้านนี้อยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ และพึงพอใจปานกลาง ต่อพยาบาลในด้านความใจดี อดทน และการให้คำอธิบายปลอบใจหรือให้กำลังใจผู้ป่วยเพื่อให้คลายความกลัวและวิตกกังวล และพบว่าผู้ป่วยจากโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยประมาณ 1 ใน 4 เห็นว่า มีความยุ่งยากมากในการมารับบริการที่ตึกผู้ป่วยนอก ส่วนผู้ป่วยจากโรงพยาบาลทั่วไปมากกว่าครึ่งแสดงความพึงพอใจ ในระดับปานกลางต่อการให้ญาติของผู้ป่วยมาเยี่ยมและความเหมาะสมของเวลาที่โรงพยาบาลกำหนดให้เยี่ยม จากข้อค้นพบในงานวิจัยนี้ คณะผู้วิจัยได้เสนอแนะให้มีการกำหนดนโยบายในการเรียกเก็บเงินในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยไม่ให้มีความแตกต่างกันมาก และ ไม่ควรสูงกว่าต้นทุนมากนัก เพื่อให้บริการเข้าถึงประชาชนส่วนใหญ่ได้มากขึ้น แลเพิ่มขอบขีดความสามารถของ ผสส. และ อสม. ในด้านการดูแลรักษาภาพ ดวงตาขั้นต้น และการส่งต่อให้มากขึ้น ตลอดจนประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบอย่างทั่วถึงเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคนี้ เพื่อชุมชนที่ประสบผล สำเร็จในด้านการบริการจัดการกองทุนยา หรือกองทุนอเนกประสงค์ในหมู่บ้าน อาจพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ที่จะมารับการผ่าตัดต้อกระจกได้อย่างเหมาะสม และควรได้มีการนำผลการวิจัยนี้ไปใช้ในการพัฒนาในด้านการให้บริการผู้ป่วยในด้านต่างๆ ที่ผู้ป่วยมีข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจในระดับปานกลางหรือ น้อย Abstract This study compared expenses of cataract patients who had undergone sugery at university, regional and general hospitals from the time of their first visit until they were discharged. At the same time, the investigation sought to identify patients level of satisfaction as regards services they received at the hospital as well as quality of treatment and complications. Samples were 119 cataract surgery patients at the university hospital, 137 and 131 patients at regional and general hospitals in Northern Thailand, respectively. For general hospitals, 3 hospital, Chiang Mai, Chiangrai and Kampangphet participated in the study. Data were collected via patient interviews and examination of patients records Non-parametrics was used to analyse the data. Findings were as follows : Patients expenses ranged from 480 to 37,840 Baht with the median of 3,864 Baht. Pre-surgical expenses were involved mainly for travelling and food at 132 Baht per person. Median expenses of patients during hospitalization was 3,682 Baht, and 92.5 percent or 3,405 Baht was for medications, medical supplies and operation fees.Expenses were highest among patients at universiyt hospital (B 3,700) followed by regional (B 2,315) and general hospitals (B 2,080). As far as numbers of eye operation and intraoccular lens (IOL) were concerned, median expenses of patients whose operation covered both eyes paid for medications, medical supplies and operation fees during hospitalization, were two times higher than those with one eye operation, whether IOL was used or not. However, patients at the university and Kampangphet hospitals paid no significantly different amounts as regards number of eye operations, but patients with IOL paid three times higher than those without IOL. The lowest median expenses for non-IOL patients was from Kampangphet hospital, 515 Baht for one-eye operation and 655 Baht for two-eye operation. The highest expenses for two-eye IOL were from Chiangrai Hospital at which patients had to pay 22,680 Baht for the operation. For quality and satisfaction of services, it was found that most patients sought treatment at tht hospitals because they considered that their illnesses were at a critical stage. The majority, 89 - 96% , underwent basic laboratory tests prior to surgery. Complications during operation were less frequently found and the highest rate was found at the regional hospital (12%) followed by university and general hospitals. Length of hospital stay depended on number of eyes (one-eye or two - eyes) and types of operation (IOL or non - IOL). However the majority of patients stayed 4-9 days. Regarding opinions toward physicians and nurses, patients at university and regional hospitals were very satisfied with attending physicians, particularly at the regional level. However, at all 3 levels, patients were fairly satisfied with both nurses and physicians regarding conversations and time spent with them. The breakdown in this category showed that regional hospital patients were more likely to express mor satisfaction than the rest, while general hospital patients expressed rather low and fair degree of satisfaction. As regards nurses kindness, explanation, consultation, and encouragement, patients were fairly satisfied. In addition, one-fourth of university hospital patients reported that they found it quite troublesome when they went for service at outpatient department of the hospital. And more than half of the general hospitals patients expressed a fair degree of satisfaction as regards the issue of visit-hours and relatives visitation arrangement. As a result of this study, researchers recommended that national policy for hospital service charges should be made and used across the country, they charges should not be different or much higher than actual costs so as to be able to provide services to more people. Furthermore, it was recommended that village health volunteers competency as regards primary eye care in primary health care and patients referrals should be strengthened. Information regarding patients expenses involved in the treatment of this particular eye disease should be available to communities. For communities successful in managing the village fund, or multi-purpose funds, might consider an appropriate assistance to villagers with cataract diseases. Lastly, hospital services in which patients expressed less satisfaction should be carefully reviewed and encouraged to plan better services.