Title : Attitudes toward death and the dying patients of professional nurses Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital Researcher : Tatsana Mahanupab, Nunta Leksawasdi , Khanokporn Sucamvang Office of Researcher : Faculty of Nursing, Chiang Mai University Abstract The purposes of this Researcher were to study of the attitudes toward death and the dying patients of professional nurses and to compare the attitudes toward death and the dying patients of professional nurses who had a range of working time and differences of the experiences in caring for the dying patients, and to study the relationship between experiences in life about death and the attitudes toward death and the dying patients of the professional nurses. Samples were 579 professional nurses which composed of head departments, supervisors, head nurses and staff nurses who worked in inpatients department namely : medical wards, surgical and orthopedic wards, general wards (eye, ear, nose, throat, larynx and psychiatric wards) , pediatric wards, OB & Gyn wards and private wards at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital. Research instrument is a questionnaire which composed of three parts as follows : general record form and the experiences in caring for the death and the dying patients, questionnaire in caring for the death and the dying patients, questionnaire of experiences in life about death and questionnaire of attitudes toward death and the dying patients of the professional nurses. Content validity was tested by the experts and reliability was obtained by mean of Cronbach's coefficient alpha. The reliability of the questionnaire of attitudes toward death and the dying patients of the professional nurses was 0.64. Data were analyzed by SPSS program using frequency, percentage, mean and standard deviation, t-test and ANOVA and test of significant by Scheffe's test and Pearson correlation. Research results revealed that : 1. The attitudes toward death and the dying patients of the professional nurses as a whole were very good. 2. There were no differences among the attitudes toward death and the dying patients of the professional nurses who had difference in years of working experiences. 3. The attitudes toward death and the dying patients of the professional nurses who had less working experiences were better than the professional nurses who had more working experiences with statistically significance at the level of .001. 4. There were statistically significant differences among the attitudes toward death and the dying patients of the professional nurses who work at medical wards, surgical and orthopedic wards, general wards, pediatric wards, OB & Gyn wards, and private wards at the level of .01. บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติต่อความตายของผู้ป่วยและผู้ป่วยใกล้ตายของพยาบาลวิชาชีพ เปรียบเทียบทัศนคติต่อความตายของผู้ป่วย และผู้ป่วยใกล้ตายของพยาบาลวิชาชีพที่มีช่วงอายุในขณะปฏิบัติงาน ประสบการณ์ในการพยาบาลผู้ป่วยใกล้ตายต่างกัน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ประสบการณ์ในชีวิตเกี่ยวกับความตาย กับทัศนคติต่อความตายของผู้ป่วยและผู้ป่วยใกล้ตายของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่เป็น หัวหน้าการพยาบาล ผู้ตรวจการ หัวหน้าตึก และพยาบาลประจำการ จำนวน 579 คน ที่ปฏิบัติงานในแผนกผู้ป่วยใน ได้แก่ แผนกการพยาบาลอายุรศาสตร์ การพยาบาลศัลยศาสตร์และออร์โธปิดิกส์ การพยาบาลผู้ป่วยทั่วไป (การพยาบาลจักษุ โสต นาสิก ลาริงซ์และจิตเวช) การพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ การพยาบาล สูติ-นรีเวช และการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และประสบการณ์ในการพยาบาลผู้ป่วยใกล้ตาย แบบสอบถามด้านประสบการณ์ในชีวิตเกี่ยวกับความตาย และแบบสอบถามเกี่ยวกับ ทัศนคติต่อความตายของผู้ป่วยและผุ้ป่วยใกล้ตายของพยาบาลวิชาชีพ หาความเที่ยงตรงด้านเนื้อหาโดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบ และนำไปหาค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติต่อความตายของผู้ป่วยและผู้ป่วยใกล้ตายเท่ากับ 0.64 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แบบทดสอบค่าที แบบทดสอบ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ทดสอบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติด้วยวิธีทดสอบของเชฟเฟ่ และทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า 1. ทัศนคติต่อความตายของผู้ป่วยและผุ้ป่วยใกล้ตายของพยาบาลวิชาชีพ อยู่ในระดับดีมาก 2. พยาบาลวิชาชีพที่มีช่วงอายุในขณะปฏิบัติงานต่างกัน มีทัศนคติต่อความตายของผุ้ป่วยและผุ้ป่วยใกล้ตายไม่แตกต่างกัน 3. พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์น้อยในการพยาบาลผู้ป่วยใกล้ตาย มีทัศนคติต่อความตายของผู้ป่วยและผู้ป่วยใกล้ตายดีกว่าพยาบาลวิชาชีพที่มี ประสบการณ์การพยาบาลผู้ป่วยใกล้ตายมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ประสบการณ์ในชีวิตเกี่ยวกับความตายไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อความตายของผู้ป่วยและผู้ป่วยใกล้ตายของพยาบาลวิชาชีพ 5. พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแต่ละแผนกมีทัศนคติต่อความตายของผู้ป่วยและผู้ป่วยใกล้ตายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01