ชื่อเรื่อง : ความต้องการบุคลากรทางการพยาบาลในประเทศไทย ชื่อผู้วิจัย : ละออ ตันติศิรินทร์ นันทา เล็กสวัสดิ์ อรพิน พรหมตัน บทคัดย่อ การศึกษาความต้องการบุคลากรทางการพยาบาลในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการบุคลากรทางการพยาบาลทุกระดับในแผนพัฒนาฯ ระยะที่ 7 ของหน่วยงานทางด้านสาธารณสุขทั้งของรัฐบาลและเอกชน และเพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้บริหารของหน่วยงานต่อบุคลากรทางการพยาบาลที่ต้องการภายหลังสำเร็จการศึกษา โดยส่งแบบสอบถามไปยังผู้บริหารหน่วยงานทางด้านสาธารณสุขทั่วประเทศ จำนวน 749 แห่ง ได้รับแบบสอบถามคือมา 571 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 76.23 ในจำนวนนี้ เป็นหน่วยงานรัฐบาล 557 แห่ง และหน่วยงานเอกชน 14 แห่ง ผลการศึกษาพบว่า ในแผนพัฒนาฯ ระยะที่ 7 หน่วยงานรัฐบาลและเอกชนมีความต้องการบุคลากรทางการพยาบาลดังต่อไปนี้ ระดับปริญญาเอกจำนวนทั้งสิ้น 524 คน สาขาวิชาที่ต้องการมากที่สุดคือ สาขาวิชาการบริหารการพยาบาลจำนวน 128 คน รองลงมาตามลำดับคือ สาขาวิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์-ศัลยศาสตร์ จำนวน 123 คน สาขาวิชาการพยาบาลแม่และเด็กจำนวน 89 คน สาขาวิชาการพยาบาลด้านการควบคุมการติดเชื้อจำนวน 72 คน สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวช จำนวน 67 คน สาขาวิชาที่ต้องการน้อยที่สุด คือ สาขาวิชาการศึกษาพยาบาล จำนวน 45 คน ในระดับปริญญาโท หน่วยงานรัฐบาลและเอกชนมีความต้องการรวมทั้งสิ้น 2,131 คน สาขาวิชาที่ต้องการมากที่สุดคือ สาขาวิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์-ศัลยศาสตร์ จำนวน 457 คน รองลงมาตามลำดับ คือ สาขาวิชาการบริหารการพยาบาลจำนวน 355 คน สาขาวิชาการพยาบาลแม่แม่และเด็กจำนวน 297 คน สาขาวิชาการพยาบาลผู้ป่วยเฉียบพลัน 269 คน สาขาวิชาการพยาบาลสาธารณสุข จำนวน 216 คน สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวช จำนวน 202 คน สาขาวิชาการพยาบาลด้านการควบคุมการติดเชื้อจำนวน 172 คน สาขาวิชาที่ต้องการน้อยที่สุดคือ สาขาวิชาการพยาบาลผู้ป่วยช่วยตนเองได้จำนวน 163 คน ในระดับปริญญาตรีหน่วยงานรัฐบาลและเอกชนมีความต้องการรวมทั้งสิ้น 13,338 คน แบ่งเป็นหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี จำนวน 10,250 คน และหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่อง 2 ปี จำนวน 3,088 คน ส่วนในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี หน่วยงานรัฐบาลและเอกชนมีความต้องการรวมทั้งสิ้น 6,426 คน หลักสูตรที่มีความต้องการมากที่สุด คือ พยาบาลระดับต้นจำนวน 3,679 คน รองลงมาตามลำดับคือผู้ช่วยพยาบาล จำนวน 1,054 คน ประกาศนียบัตรเฉพาะทางการพยาบาลผู้ป่วยในภาวะวิกฤต จำนวน 488 คน ประกาศนียบัตรเฉพาะทางการบริหารการพยาบาลจำนวน 322 คน ประกาศนียบัตรเฉพาะทางการพยาบาลผู้สูงอายุ จำนวน 284 คน ประกาศนียบัตรเฉพาะทางการพยาบาลโรคทรวงอกจำนวน 224 คน ประกาศนียบัตรเฉพาะทางการพยาบาลหัวใจและหลอดเลือดจำนวน 218 คน หลักสูตรที่ต้องการน้อยที่สุดคือ ประกาศนียบัตรเฉพาะทางการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง จำนวน 157 คน สำหรับความคาดหวังของผู้บริหารหน่วยงานที่ต้องการให้บุคลากรทางการพยาบาลทำงานในลักษณะต่าง ๆ พบว่า ผู้บริหารหน่วยงานต้องการให้บุคลากรในระดับปริญญาเอกทำงานด้านวิจัยทางคลินิกและชุมชนมากที่สุดจำนวน 97 คน รองลงมาคือ ให้บริการพยาบาลในด้านผู้ชำนาญเฉพาะทาง จำนวน 78 คน ส่วนบุคลากรในระดับปริญญาโท ผู้บริหารหน่วยงานต้องการให้ทำงานในด้านบริการพยาบาลโดยเป็นผู้ชำนาญเฉพาะทางมากที่สุดจำนวน 246 คน รองลงมาคือ การบริหารการพยาบาลโดยเป็นหัวหน้าพยาบาล จำนวน 211 คน ในระดับปริญญาตรีนั้นผู้บริหารหน่วยงานต้องการให้ทำงานด้านบริการพยาบาลมากที่สุดจำนวน 424 คน รองลงมาคือ การบริหารการพยาบาลจำนวน 240 คน Title : Needs of Nursing Personnel in Thailand Researcher : La-aw Tuntisirintra Nunta Leksawasdi Orapin promtun Researcher's E-mail : ABSTRACT This study was designed to examine and identify nursing personnel needs of both public and private health organizations at every level in the 7th National Economic and Social Development Plan (1992-1996). At the same time, it sought to identify those organizations admistrators' expectations as regards the role and fu8nctions of their nursing personnel. Questionaires were mailed to administrators of 749 health offices. 571 were returned (or 76.23%) with 557 from government and 14 private organizations. According to the 7th National Development Plan, both public and private health organizations need 524 doctoral degree level, 2,131 master's degree-level and 13,338 undergraduate degree-level nursing personnel altogether. As far as the first category is concerned, the most needed personnel, 128 in number, are those in the area of nursing administration followed by 123 in medical and surgical nursing, 89 in maternal and child nursing, 72 in infection control nursing, 67 in psychiatric nursing and 45 in nursing education, the least needed. As regards the master's degree-level nursing personnel, the most needed are those in the area of medical and surgical nursing, 457 in number. This was followed by 355 in nursing administration, 297 in public health nursing, 202 in psychiatric nursing and 172 in infection control nursing. The least needed are those in ambulatory care, totaling 163 in number. At the undergraduate degree level both public and private health organizations need a total of 13,338 nursing personnel during the 7th . Plan with 10,250 being products of the 4-year and 3,088 the 2-year Bachelor's Degree programs in Nursing. Moreover, at the sub-bachelor's Degree level 6,426 nursing personnel are needed with 3,679, the most needed, being associate nurses, 1,054 practical nurses, 488 with critical nursing specialist certificates, 322 with nursing administration specialist certificates, 284 with elderly nursing certificates, 244 with thoracic nursing specialist certificates, 218 with cardiovascular nursing specialist certificated, and the least needed, 157 with cancer nursing specialist certificates. As regards the administrators' expectations of role and functions of those nursing personnel it was discovered that they needed 97 doctoral degree personnel to do clinical and community research while 78 were expected to work as specialists in specific areas. At the master's degree level the administrators wanted 246 personnel, the highest expectation, to work as specialists in specific areas while 211 were expected to work as head nurses. Finally, at the bachelor's degree level 424 personnel were expected to work in the area of nursing services while 240 were expected to work in nursing administration area.