ชื่อเรื่อง : ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ชื่อผู้วิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร้อยโทหญิงอัญชลี เชี่ยวโสธร รองศาสตราจารย์อุบล นิวัติชัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์วารุณี แก่นสุข บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเหนื่อยหน่าย และปัจจัยที่มีผลต่อความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จำนวน 325 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดความเหนื่อยหน่ายซึ่งผู้วิจัย แปลมาจาก แบบวัดความเหนื่อยหน่ายของมาสแลค และแจ็คสัน (1986) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการจัดให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบวัดฯ แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSSx ปรากฎผลการวิจัยดังนี้ 1. พยาบาลประจำการในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ มีความเบื่อหน่ายด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ การลดคุณค่าของบุคคลและความรู้สึกว่าตนเองประสบความสำเร็จในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 79.7, 64.4 และ 39.4 ตามลำดับ 2. ความเหนื่อยหน่ายด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการลดคุณค่าของบุคคล และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความรู้สึกว่าตนเองประสบความสำเร็จ ส่วนการลดคุณค่าของบุคคลมีความสัมพันธ์เชิงลบ กับความรู้สึกว่าตนเองประสบความสำเร็จ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) 3. ลักษณะงานที่ปฏิบัติและระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน สามารถทำนายความเหนื่อยหน่ายด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ การลดคุณค่าของบุคคล และความรู้สึกว่าตนเองประสบความสำเร็จได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) โดยสามารถอธิบายได้ร้อยละ 9.48, 10.02 และ 9.47 ตามลำดับ Title : Researcher : Ubol Niwatchai Varunee Kansook Researcher's E-mail : ABSTRACT The Descriptive research was carried out to study the level of burnout and factors affecting burnout syndrome among staff nurses in Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital. The samples were 325 staff nurses in every nursing area in the hospital. The research tool was translated from Maslach Burnout Inventory (1986) composed of three subscales, emotional exhaustion, depersonalization and personal accomplishment. A statistical package for social science (SPSSx) computer program was used for data analysis. The results were:- 1. The staff nurses in Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital have high degree of burnout in emotional exhaustion depersonalization and personal accomplishment as 79.7%, 60.4% and 39.4% respectively. 2. There were position between emotional exhaustion subscale and depersonalization subscale, and egative correlation between subscales, emotional exhaustion and personal accomplishment, depersonalization and personal accomplishment with highly statistical significance (p < .01) 3. Job characteristion and working time were the factors which could predict burnout syndrome in three subscales of emotional exhaustion, depersonalization and personal accomplishment as 9.48 %, 10.02 % and 9.47 % respectively with highly statistical significance (p < .01)