ชื่อเรื่อง : ความเชื่อแผนโบราณและพฤติกรรมการรักษาเยียวยาแบบพื้นบ้านของชาวบ้าน บ้านห้วยสะแพท อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ชื่อผู้วิจัย : ประยงค์ ลิ้มตระกูล กรรณิการ์ กันธะรักษา รวิวัลย์ วงศ์ลือเกียรติ มล.อัครอนงค์ ปราโมช จันทร์ฉาย หวันแก้ว ศิริรัตน์ เปลี่ยนบางยาง รสสุคนธ์ ลิ้มทะวงศ์ สุธิศา ล่ามช้าง บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเชื่อแผนโบราณ และ พฤติกรรมการรักษาเยียวยาแบบพื้นบ้านของชาวบ้าน บ้านห้วยสะแพท อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนข้อห้ามและการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อความสุขสบายของสมาชิกในครอบครัว กลุ่มตัวอย่าง คือ พ่อบ้าน และแม่บ้านชาวกะเหรี่ยง การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจำนวน 53 คนและสนทนากลุ่มจำนวน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มพ่อบ้านและกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มละ 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและแนวคำถามการสนทนากลุ่ม ที่สร้างขึ้นโดยผ่านการทดสอบ และตรวจสอบแก้ไขแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการบรรยายและใช้ค่าสถิติแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และร้อยละในข้อมูลเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนหนังสือ มีรายได้ต่ำ นับถือผี นิยมเลี้ยงสัตว์ไว้ใต้ถุนบ้าน การเจ็บป่วยเล็กน้อยไม่ต้องพักรักษาและพบมาก ชาวบ้านเชื่อว่าเมื่อเกิดสิ่งผิดปกติวิสัยจะต้องทำพิธีเลี้ยงผี เพื่อช่วยให้เคราะห์ร้ายต่าง ๆ ลดลง การเลี้ยงผีและจัดพิธีกรรมต่าง ๆ จะช่วยให้ผลผลิตทางการเกษตรดีขึ้น และทำให้เกิดความสุขสบายแก่สมาชิกในครอบครัว ในขณะตั้งครรภ์ ระยะคลอดบุตร ระยะหลังคลอดและทารกในระยะแรกเกิดจะมีข้อห้ามและข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย พฤติกรรมการรักษาเยียวยาแบบพื้นบ้าน จะมีเครือข่ายทางสังคมทั้งในระดับครอบครัว เครือญาติ และชุมชน มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพื่อการรักษา วิธีการรักษาเยียวยาปฏิบัติไม่ แตกต่างกันในการเจ็บป่วยโรคที่ต่างกันคือ จะทำการเลี้ยงผีมากที่สุด ส่วนการรักษาการแพทย์แผนปัจจุบันที่พบมากคือการซื้อยารักษาเอง และการใช้บริการจากโรงพยาบาล Title : Traditional health beliefs and health seeking behavior of the people in Huay-Sapad Village Chom-Thong District, Chiang Mai Province Researcher : Prayong Limtragool Kannikar Kantaruksa Rawiwan Wonglieukirati Akanong Pramoch Chanchai Wankaew Sirirat Pan U thai Rosukon Limtawong Sutisa Lamchang Researcher's E-mail : Abstract The purposes of this descriptive study were to find out the traditional health beliefs, health seeking behaviors, toboos, and ritual of the people in Huay-Sapad village, Chom-Thong district, Chiang Mai province. Samples were the heads of the Karen households and their wives and were obtained by purposive sampling. Instruments for data collection consisted of an in-depth interview guideline and a set of questions for focus group, developed by the researcher and were examined for content validity by the experts before pretest. Data were derived from in-depth interview 53 subjects and 2 focus groups with twelve persons in each group. Content analysis was used to analyze qualitative data and quantitative data were analyzed for frequency, mean and percentage. The results of the study revealed that the majority of the samples did not attend school, had low income, believed in spirit, kept animals under the houses and had mild illness which was not required any treatment. The samples believed that spiritual ceremony could relieve bad fortune or abnormal events. Spiritual ceremony and ritual increased agricultural products and happiness among the family members. There were taboos and ritual to prevent illness for women during pregnancy, labour and delivery, post partal period and for the newborn babies. There was social network for health seeking behavior. Family, relatives and community involved in decision making regarding the treatment. Methods of treatment for all kinds of sickness were similar. The common method was spiritual ceremony. The common modern medicine practices were either buying medication from drug store and self treatment or using the hospital service.