ชื่อเรื่อง : แบบแผนสุขภาพ ปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุในเขตหมู่ 2 ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ชื่อผู้วิจัย : ราตรี โอภาส กรรณิการ์ พงษ์สนิท ชมนาด พจนามาตร์ ชูศรี วงษ์เครือวัลย์ บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบแผนและความต้องการทางด้านสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน เขตหมู่ 2 บ้านเจ็ดยอด ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 111 ราย ซึ่งถูกคัดเลือกโดยวิธีสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้ ในด้านแบบแผนสุขภาพ พบว่าโดยส่วนใหญ่ผู้สูงอายุดำรงแบบแผนที่ส่งเสริมสุขภาพอยู่แล้ว โดยเฉพาะในเรื่องการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายและกิจวัตรประจำวัน การยอมรับการเปลี่ยนในครอบครัว อย่างไรก็ตามในกลุ่มผู้สูงอายุที่ศึกษา ยังคงพบปัญหาที่ผลโดยตรงและอ้อมจากความเสื่อมหรือการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่นปัญหาสายตา โรคประจำตัว ได้แก่โรคหัวใจ โรคกระเพาะอาหาร โรคเบาหวาน ริดสีดวงทวาร ท้องผูกที่พบร่วมกับการใช้ยาระบาย นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย หลงลืมง่าย วิตกกังวลต่อความเจ็บป่วยของตน ภาวะเศรษฐกิจ และความกลัวต่าง ๆ ความต้องการด้านสุขภาพอนามัย พบว่าผู้สูงอายุมีความต้องการมากที่สุดในเรื่องการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย การตรวจสุขภาพประจำปี การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ และการปรับตัวในวัยสูงอายุ ดังนั้น เจ้าหน้าที่ในทีมสุขภาพจึงสมควรที่จะตระหนัก เข้าใจอย่างถ่องแท้และให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องแก่ผู้สูงอายุให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการอย่างแท้จริงเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพอนามัยที่ดีและมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีความสุข Title : Health Status and Health Needs of the Eldery in village 2, Chang Pueck subdistric, Chiang Mai Researcher : Miss Ratree Opasa Mrs.Kannikar Pongsanit Mrs.Chomnard Potjanamart Miss Chusri Wongkruawan Researcher's E-mail : Abstract This study focussed on an examination of health pattern and need of the elderly, living in village 2, Chang Pueck Subdistrict of Chiang Mai Province. Data were obtained by formal interviewing a sample of 111 elderly, drawn by accidental sampling. Descriptive statistics was used for data analysis. The major findings regarding health pattern were that almost all elderly possed positive health pattern in the aspect of food habits, exercise and daily activity, physiological change acceptance, being respected, and good relationship among family member. Further, they also had the feeling of happiness and peaceful life for aging. The most common problem found in the elder were the problem of eye sight, chronic disease, such as heart disease peptic ulcer and diabetis mellitus, hemorrhoid, constipation resulting in using laxatives, insomnia, fatique, short memory, anxiety about their illness, economic and unforeseeable fear. These results thus indicated that elderly health pattern had not yet totally appropriate. Some problems still existed both physically and mentally. Self-care during illness was prioritized by the majority of the participants. It is hence advisable that their felt need and problems should be explored, fully understood, and resolved by the member of health professions so as to assure their health and quality of long-lives.