132 ชื่อเรื่อง : สมรรถภาพการบริการทางห้องปฏิบัติการ โรงพยาบาลพะเยา ชื่อผู้วิจัย : วิจิตร ศรีสุพรรณ วิลาวัณย์ เสนารัตน์ ประยงค์ ลิ้มตระกูล ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ ธนารักษ์ สุวรรณประพิศ จักรภพ ธาตุสุวรรณ บทคัดย่อ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถภาพและศักยภาพของห้องปฏิบัติการ ความพอใจในการใช้บริการทางห้องปฏิบัติการของแพทย์ และผู้บริหาร ตลอดจนความต้องการและรูปแบบวิธีการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพพห้องปฏิบัติการเพื่อรองรับงานในปัจจุบันและการขยายงานในอนาคตของโรงพยาบาล วิธีดำเนินการวิจัยเริ่มโดยการสร้างทีมงานจากทั้งภายในและภายนอกโรงพยาบาลพะเยา ซึ่งประกอบด้วยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา และคณะแพทย์ พยาบาล และนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ของโรงพยาบาลพะเยา การกำหนดวิธีการดำเนินการวิจัยได้จากการประชุมปรึกษาหารือร่วมระหว่างทีมงานทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการศึกษาสถานภาพด้านกายภาพและเครื่องมือของห้องปฏิบัติการ การใช้บริการทางห้องปฏิบัติการ ความคิดเห็นและความพึงพอใจของผู้ให้บริการ ผู้ใช้บริการ และผู้บริหาร เกี่ยวกับคุณภาพและบริการของการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรวบรวมข้อมูลได้จากการสำรวจ การวิเคราะห์ระเบียนผู้ป่วยและบัตรผู้ป่วยนอก ตามกลุ่มอาการ/โรคที่คณะแพทย์จาก 4 แผนก คือ อายุรกรรม ศัลยกรรม กุมารเวชกรรม และสูติ- นรีเวชกรรม ระบุว่าเป็นกลุ่มอาการ/โรคที่พบบ่อย และมีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจ/วินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา/วินิจฉัยโรค/อาการของผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 34 กลุ่มอาการ/โรค จำนวนระเบียนผู้ป่วยและบัตรผู้ป่วยนอก มีทั้งหมด 597 และ 1,805 ราย ตามลำดับ โดยใช้วิธี Random Sampling ผลการศึกษาพบว่า สภาพทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ จำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงทั้งด้านการถ่ายเทอากาศ แสง เสียง และอุณหภูมิห้อง รวมทั้งเครื่องมือที่มีจำนวนไม่เพียงพอแก่การใช้งานประจำวัน และเครื่องมือที่มีอยู่อยู่ในสภาพที่เสื่อมและชำรุดเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการใช้งานมานานและมาก การตรวจทางห้องทดลองมีจำนวนปีละ 215,813 รายการ และเพิ่มขึ้นทุกปี ในจำนวนนี้เป็นการตรวจทางโลหิตวิทยาถึงร้อยละ 36.0 รองลงมาเป็นการตรวจทางภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก คือ ร้อยละ 18.0 และการตรวจทางเคมีคลินิก ร้อยละ 17.0 ยังไม่มีการใช้เครื่องมือที่เป็นAutomate และมีรายการตรวจนอกเวลาราชการร้อยละ 5.5 ในด้านบุคลการ มีเจ้าหน้าที่รวมทั้งสิ้น 25 คน ในจำนวนนี้มีวุฒิปริญญาตรีเทคนิคการแพทย์ 2 คน เป็นผู้ที่ได้รับการฝึกอบรม 1-2 ปี จำนวน 17 คน อีก 6 คน เป็นพนักงานผู้ช่วยและพนักงานห้องทดลอง มีการควบคุมคุณภาพโดยส่งสิ่งส่งตรวจไปทดสอบซ้ำที่กรมวิทยาศาสตร์ ซึ่งกำหนดไว้ทุก 1-2 เดือน การพัฒนาบุคลากรยังไม่มีแผนพัฒนาที่ชัดเจน ไม่มีความต่อเนื่อง ทั้งผู้ให้บริการ ผู้ใช้บริการ และผู้บริหารโรงพยาบาล มีความเห็นร่วมกันว่ายังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในการให้บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลการตรวจบางอย่างเชื่อถือได้น้อย รวมทั้งระบบข้อมูลยังไม่สมบูรณ์ มีความล่าช้าในการรายงานผล ในด้านความต้องการเครื่องมือ/อุปกรณ์เพื่อการตรวจทางห้องปฏิบัติการในอนาคต ทั้ง 3 กลุ่มคือ ผู้ให้บริการ ผู้ใช้บริการ และผู้บริหารมีความเห็นแตกต่างกันค่อนข้างมาก ซึ่งผลจากการนำเสนอข้อมูลและการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันของคณะทำงาน มีข้อเสนอแนะให้นำไปสัมมนาเพื่อจัดทำแผนในการพัฒนาเครื่องมือ/อุปกรณ์ บุคลากร และระบบการบริหารจัดการด้านห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลต่อไป และให้มีการติดตามประเมินผลการดำเนินการเป็นระยะ ๆ ทุกปี โดยบุคลากรภายในและภายนอกโรงพยาบาล ในการนำรูปแบบการศึกษาวิจัยนี้ไปใช้ในการวิจัยครั้งต่อไป คณะผู้วิจัยเสนอให้มีการปรับปรุงเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลให้มีความเหมาะสมรัดกุมยิ่งขึ้น และการศึกษาวิจัยที่จะได้ผลดีจำเป็นต้องมีทีมงานทั้งภายนอกและภายในองค์กร เพื่อให้ผลของการวิจัยมีความตรงมากขึ้น สามารถลดอคติและความเอนเอียงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการวิจัย สามารถนำไปใช้ในการพัฒนางานได้ตรงกับความจำเป็นและต้องการ Title : Service capacity of the clinical laboratory at Phayao Provincial Hospital Researcher : Associate Professor Dr.Wicith Srisuphan Assistant Professor Wilawan Senaratana Assistant Professor Prayong Limtragool Assistant Professor Dr.Chawapornpan Chanprasit Associate Professor Thanaruk Suwanprapit Mr.Jakkapub Thasuwan Researcher's E-mail : Abstract The participatory action research was designed in order to i) study the capacity and potentiality of the clinical laboratory; ii) examine the satisfaction of the clinical staff and administrators regarding laboratory services; and iii) determine the present needs and the model for the development of laboratory services for current situation and the expansion of services of Payao Hospital in die future. The research started with formulating the study team which comprised a research team from Chiang Mai University, experts from Department of Medical Science Bangkok, JICA, Staff of provicial Health office and Health professionals of Payao Hospital. The research methodology was set through the formal meeting of the research team. Needed data were divided into three main aspects: physical conditions and clinical instrument of laboratory, the actual usage of laboratory services; and opinions including satisfaction of providers (laboratory staff), consumers (medical staff), and administrators concerning quality and laboratory services. Data collection was performed using several approaches: a survey, in-depth interviews with clinical staff and administrators, an analysis of medical records of patients who were diagnosed with the most 34 common symptoms/diseases which required lab test and were the consensus of medical staff of four departments (Medical, surgical, Pediatric and Ob--gyn). The study patients consisted of 597 cases of in-patients and ~ ,805 cases of out-patients from randomization. The major findings indicated that the physical condition of laboratory was under standard and needed to be improved for ventilation, light and temperature control. The amount of instruments were insufficient and almost all of them were outdated, broken, and constantly in need of repair since they have been in service for over ten ye~Lrs and still are overworked. Annually, the numerous tests was 215,815 items and tended tD be increasing every year. Among of the test, there were homatological test 36%, clinical immunology 18%, clinical chemistry 17% and 5% of the test were carried out after office h~ur. It is also interesting to note that there was no highly effective instrument like automate. Regarding laboratory staff, there were totally 25 personnel comprising 2 medical scientists, 17 medical science officer and 6 aids. Testing qualigy control was done by sending test results to the Department of Medical Science regularly every 1-2 months. Although, the providers, consumers, and administrators have agreed that skilled and experienced personnel were still needed, there was no specific staff development plan. The test results were wireliable and in delayed report. In addition, data management system of laboratory section was incompleted. Needs of lab instruments in the future among those three groups were varied. According to results presentation and discussion, there were advised that a seminar should be arranged and special attention should be given to the development concemin,~ instruments, personnel and management system of laboratory. Further, periodical evaluation should be undertaken regularly by inside and outside personnel. For a future similar study, the research instruments should be modified to suit to the hospital situation. Research team comprising both inside and outside the organization ('1ospital) is essential for obtaining the reliable results and reducing possible biases. Thus, the obtained findings can be applied for laboratory development according to the needs of the hospital