บทคัดย่อ : บริโภคนิสัยของมารดาที่มีผลกระทบต่อภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน ในชนบทจังหวัดเชียงใหม่ การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบริโภคนิสัยของมารดา ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลี้ยงดู การให้อาหารเสริมเด็ก ตลอดจนปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัวที่มีผลต่อภาวะโภชนาการเด็กก่อนวันเรียน โดยการสัมภาษณ์มารดาและตรวจร่างกาย ชั่งน้ำหนัก วัดความสูงของเด็กในชนบทจังหวัดเชียงใหม่ แล้วนำไปเทียบกับมาตรฐานของเด็กจังหวัดเชียงใหม่ ประชากรตัวอย่างทั้งหมด 417 ครอบครัว ผลการศึกษาพบว่า มีเด็กที่มีภาวะโภชนาการบกพร่องประมาณ 1 ใน 4 ของจำนวนตัวอย่างที่ศึกษา ซึ่งมารดามีบริโภคนิสัยที่ไม่ค่อยถูกต้อง มีความเชื่อถือผิด ๆ เกี่ยวกับอาหารที่ได้รับถ่ายทอดสืบต่อ ๆ กันมา จึงงดบริโภคอาหารที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกายขณะตั้งครรภ์ ระยะหลังคลอด และขณะเจ็บป่วย ทำให้เด็กมีภาวะโภชนาการบกพร่อง นอกจานี้ยังพบอีกว่า ความรู้ด้านโภชนาการของมารดาเกี่ยวกับการเลี้ยงดูและการให้อาหารเสริมแก่เด็กยังไม่ถูกต้อง และมารดาที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนต้น มีอายุระหว่าง 21-25 ปี ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม มีรายได้ครอบครัวต่ำ นิยมคลอดบุตรที่บ้าน และรับการรักษาทางแผนโบราณเมื่อเด็กเจ็บป่วยจะมีบุตรที่มีภาวะโภชนาการบกพร่องมากเช่นกัน ส่วนลำดับที่เกิดของบุตรและจำนวนสมาชิกของครอบครัวไม่มีผลต่อภาวะโภชนาการเด็ก Abstract : Mother's food habit effects on nutritional status of preschool children in Chiang Mai rural area. The study was conducted to find out about the facts relate to mother's food habit, knowledge and understanding innurturing her children with supplementary food including socio-economical condition of the family which has effect on nutritional status of the preschool children. The obtaining data from interviewing the mothers, physical examination and recording the weight and height of the children form 417 families in Chiang Mai rural area were compared with the Chiang Mai standard preschool childrens. The result reveals that one-fourth of the sampling children are in undernutritional status. The main factor results fromthe study is misbelief indaily nutritional intake during pregnancy, post-partum period, and also when having illness sufficiently for generations. Besides, some factors of mother which influence oninsufficient growth of these children emerge from the study are uneducation, improper food habit, low family income and disbelief inmodern medicine. Family size and birth order have no effect on the children nutritional status.