การนำมหาวิทยาลัยของรัฐไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ และส่งผลกระทบโดยตรงต่อบุคลากรทุกประเภทในสังกัดมหาวิทยาลัย การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความวิตกกังวลของข้าราชการแต่ละสายงานต่อการเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย รวมทั้งเปรียบเทียบระดับความวิตกกังวลของข้าราชการแต่ละสายงานต่อการเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความวิตกกังวล ประชากรที่ศึกษาประกอบด้วยข้าราชการ สาย ก. ข. และ ค. สังกัดคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวนทั้งหมด 172 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และทดสอบความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของ Cronbach ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมข้าราชการคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความวิตกกังวลต่อการเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในระดับปานกลาง และเมื่อเปรียบเทียบระดับความวิตกกังวลตามประเภทสายงานของข้าราชการแล้ว พบว่า ข้าราชการสาย ข มีระดับความวิตกกังวลน้อย สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความวิตกกังวลพบว่า เพศ อายุ อายุราชการ การมีรายได้อื่นนอกเหนือจากเงินเดือนประจำ การได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากหน่วยงาน และความคิดเห็นต่อข้อมูลข่าวสารการออกนอกระบบที่ได้รับไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความวิตกกังวลของข้าราชการ ในขณะที่สถานภาพการสมรส คุณวุฒิการศึกษา ประเภทของข้าราชการ เงินเดือนของข้าราชการ และความต้องการเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยภายหลังการออกนอกระบบเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความวิตกกังวล Changes regarding autonomous status of the university in bureaucratic system is believed to have an impact to the university staff. This survey research, hence, was designed aiming to study the level of anxiety resulting from such changes of the staff members belongs to the Faculty of Nursing, Chiang Mai University. The study population included 172 personnel of the Faculty of Nursing, Chiang Mai University. Data were collected though a questionnaire divided into 3 parts: demographic data, assessment of anxiety level, and the factors related to anxiety. The content validity was confirmed by seven experts and the reliability was 0.93, calculated by Cronbach's Alpha Coefficient. The total of 172 questionnaire was distributed and was returned by 91.86%. Data were analyzed by using descriptive statistics. The major results were as follows: Overall, the staff of the Faculty of Nursing, Chiang Mai University had anxiety as a result of autonomous status at the moderate level. The level of such anxiety was found to be different according to marital status, education, position and wage. The other variables concerning demographic data such as gender, age and the support for faculty staff development did not showed for the different level of anxiety. Though the study population expressed the moderate level of anxiety, in details of some aspects it clearly showed that they also had a high to highest level of anxiety. This included information concerning changes regarding autonomous status of the university, the feeling related to unwillingness and uncertainty concerning the change status. Therefore, it is rather important for the university to provide a clear and coverage information regarding such changes to all the staff of the faculty member. This is anticipated to encourage and reinforce the staff to continue their work effectively, or in other words without uncertainty.