บทคัดย่อ การส่งเสริมการดูแลสุขภาพ เป็นกลวิธีหนึ่งที่สำคัญในการให้บุคคลมีพฤติกรรมสุขภาพที่สมบูรณ์และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ประชากรชาวไทยภูเขาที่อาศัยอยู่ ภาคเหนือของประเทศไทย ส่วนใหญ่ยังมีมาตรฐานความเป็นอยู่ในระดับต่ำ ขาดความรู้และโอกาสที่จะได้รับบริการทางสังคมในด้านต่าง ๆ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการส่งเสริมการดูแลสุขภาพของชาวเขาก่อนและหลังได้รับการส่งเสริมการดูแลสุขภาพโดยรวมและรายด้านของแต่ละหมู่บ้าน วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยการทดสอบก่อนและหลังในกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว กลุ่มตัวอย่างเป็นชาวเขาในพื้นที่โครงการหลวงแม่แฮ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 37 ราย จาก 4 หมู่บ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย แนวคำถามเพื่อใช้สัมภาษณ์เจาะลึก แผนการสอนความรู้และ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ 7 เรื่อง ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง และให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และแบบสอบถามการส่งเสริมการดูแลสุขภาพ จากนั้นหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยใช้ test-retest ระยะห่างกัน 2 สัปดาห์ หาค่าสหสัมพันธ์เพียรสัน ได้ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ 0.72 การรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกชาวเขาที่เป็นแกนนำหมู่บ้าน เพื่อหาปัญหาและความต้องการในการส่งเสริมการดูแลสุขภาพ หลังจากนั้นจึงสอน เนื้อหาเกี่ยวกับการส่งเสริมการดูแลสุขภาพทั้งหมด 7 เรื่อง ใช้เวลาเรื่องละ 30 นาที การสอนใช้วิธีอธิบาย ซักถาม ดูรูปภาพและอุปกรณ์คล้ายของจริง การสาธิต และให้กลุ่มตัวอย่างสาธิตย้อนกลับพร้อมกับแจกคู่มือ เมื่อเสร็จสิ้นการสอนให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามประมาณ 10 นาทีต่อ 1 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการได้รับการส่งเสริมการดูแลสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยการส่งเสริมการดูแลสุขภาพโดยรวมของทุกหมู่บ้านสูงกว่า ก่อนได้รับการส่งเสริมการดูแลสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) สำหรับคะแนนการส่งเสริมการดูแลสุขภาพรายด้านของแต่ละหมู่บ้าน พบว่า หมู่บ้านป่าเกี้ยะน้อย กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของการส่งเสริมการดูแลสุขภาพในด้านความรู้และการป้องกันโรคเอดส์ การใช้สารเคมีเกษตร และการจัด สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมสูงกว่าก่อนได้รับการส่งเสริมการดูแลสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) หมู่บ้านม่อนยะเหนือ กลุ่มตัวอย่างมคะแนนเฉลี่ย ของการส่งเสริมการดูแลสุขภาพในด้านพฤติกรรมการป้องกันการเจ็บป่วย ความรู้และการป้องกันโรคเอดส์ การใช้สารเสพติด และการจัดสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สูงกว่าก่อนได้รับการส่งเสริมการดูแลสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) หมู่บ้านแม่แฮเหนือ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของการส่งเสริมการดูแลสุขภาพ ในด้านความรู้และการป้องกันโรคเอดส์และด้านการจัดสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สูงกว่าก่อนได้รับการส่งเสริมการดูแลสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) หมู่บ้านห้วยหอย กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนของการส่งเสริมการดูแลสุขภาพในด้านความรู้และการป้องกันโรคเอดส์ และการใช้สารเสพติด สูงกว่าก่อนได้รับการ ส่งเสริมการดูแลสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผลจากการวิจัยครั้งนี้ เป็นแนวทางในการกระตุ้นและส่งเสริมให้ชาวเขาได้รับการส่งเสริมการดูแลสุขภาพซ้ำในด้านที่ไม่สนองสมมติฐานในแต่ละหมู่บ้าน และสนับสนุนให้มีความคงอยู่ของความรู้ที่ได้รับจากการส่งเสริมการดูแลสุขภาพตลอดไป ABSTRACT Health Promotion is an important strategy that enable person to have good quality of life by performing healthy behaviors. Most of hilltribe people who live in the northern part of Thailand have low standard of living, were illiterate, and lack of opportunity to access health care services. The purpose of this study was to compare the effects of health care promotion on hilltribe people before and after receiving health care promotion in every topic of four villages and in each topic of each village. This quasi-experimental study was one group pertest-posttest desige. The subjects consisted of 37 hilltribes from four villages in the Mae-hae Royal Project Area, Mae-jam Distric, Chiang Mai province. The instruments consisted of an in-depth interview form, the teaching plan for health care promotion and the health care promotion questionnaire which was developed by the researchers. The questionnaire was tested and retested after two weeks, and the reliability coefficient was 0.72 Data was collected by interviewing the community leaders in order to identify needs and health problems. The subjects were selected follow inclusion criteria and interviewed before receiving health promotion. They were taught about seven topics related to health promotion that took 30 minutes in each topic. The teaching methods included explanation, discussion, see pictures and models, demonstration and return demonstration. Manuals were provided during teaching. After the class, the subjects answered questionnaires about 10 minutes in each topic. The results of this study revealed that after the subjects receiving health care promotion the mean of health care promotion in every topic of every village was higher than before the subjects received health care promotion (P<.001). The mean of health care promotion in each aspect of each village found that for Pa-kia-noy village, the mean of health care promotion in knowledge and AIDS prevention, use of agricultural chemical substances, and environmental sanitation was higher than before the subjects received health care promotion (P<0.5). For Mon-ya-nau village, the mean of health care promotion in disease prevention behavior, knowledge and AIDS prevention, use of addictive drugs, and environmental sanitation was higher than before the subjects received health care promotion (P<0.5). For the Mae-hae-nau village, the mean of health care promotion in knowledge and AIDS prevention and environmental sanitation was higher than before the subjects received health care promotion. For Hauy-hoy village, the mean of health care promotion in knowledge and AIDS prevention and use of addictive drugs was higher than before the subjects received health care promotion. (P<0.5) Therefore, it is necessary to enhance the provision of health care services for the hilltribe people in order to sastain their knowledge in health promotion. --------------------------------------------------- Presented at Faculty of Nursing, Chiang Mai University : February 15-16, 2002.