บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาศักยภาพของผู้นำชุมชน อาสาสมัคร เยาวชนและกลุ่มวัยแรงงานให้มีความรู้และหลีกเลี่ยงการมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี และส่งเสริมกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน 21 แห่ง ของแขวงศรีวิชัย แขวงเม็งรายและแขวงนครพิงค์ เทศบาลเมืองเชียงใหม่ วิธีการพัฒนาศักยภาพเริ่มต้นจากการคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายที่มีความสนใจและเต็มใจที่จะเข้าร่วมโครงการ การค้นหาปัญหาและความต้องการของชุมชนดำเนินการโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกและการสนทนากลุ่ม อาสาสมัครดำเนินการสำรวจความรู้และทัศนคติต่อโรคเอดส์ของประชาชนในพื้นที่เป้าหมายโดยใช้แบบสอบถาม ข้อมูลได้นำเสนอและตรวจสอบความถูกต้องในกลุ่มผู้แทนชุมชนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น การประชุมเชิงปฏิบัติการและการอบรมเป็นแนวทางที่ใช้ในการพัฒนาศักยภาพแกนนำ มีแกนนำชุมชน 80 คนและเยาวชน 80 คนเข้ารับการอบรม แกนนำได้แสดงถึงศักยภาพโดยจัดทำโครงการเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในแต่ละชุมชน และได้ดำเนินกิจกรรมการเยี่ยมครอบครัวผู้ติดเชื้อและผู้ได้รับผลกระทบเพื่อการช่วยเหลือและให้การปรึกษา คณะผู้วิจัยเป็นผู้ให้การสนับสนุนทั้งทางด้านวิชาการและงบประมาณบางส่วน ภายหลังการดำเนินกิจกรรมตามโครงการพบว่า ความรู้และทัศนคติของประชาชนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ในการทำงานของชุมชน การระบาดของการติดเชื้อเอชไอวีเป็นปัญหาที่ซับซ้อนที่ทุกฝ่ายจะต้องให้ความร่วมมือในการป้องกันการแพร่ระบาด และให้การช่วยเหลือดูแลผู้ติดเชื้อในชุมชนและเนื่องจากความสัมพันธ์ร่วมมือกันของชุมชนเมืองจะแตกต่างกับชุมชนชนบท ดังนั้นผู้นำจะต้องมีศักยภาพที่จะเป็นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งเสริมให้มีกิจกรรมร่วมกันในชุมชน บทบาทของนักวิชาการ ภาครัฐและภาคเอกชนยังมีความจำเป็นในการสนับสนุนกิจกรรมในชุมชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น Abstract This research and development project was using the participatory approach to developing ability of community leader, volunteer, youth and people in working aged group to have knowledge and avoid risky behavior on HIV/AIDS and promote health promoting activities in the communities. The target areas were 21 communities in Sri Wichai area, Meang Rai area and Nakorn Ping area of Chiang Mai municipality. The development process started with selected the target areas, which interested and willing to participate in the project. Identified problems and needs were done by means of in-depth interviews and focus group discussions. The volunteers were examined knowledge and attitude concerning HIV/AIDS among people in their communities by using a questionnaire. Data were presented and verified among representatives of each community and concerned personnel. Discussion session was done to find out the solutions to solve the problems. Workshop and training were chosen to be the strategies for developing ability of peer leader. 80 volunteers and 80 youths were trained. After the trainings and workshops, the peer leaders were developed the projects to implement in their communities. Home visiting was done by volunteers to support people who lived with and effected by HIV/AIDS. The research term was both technical and financial support for each activity. It was found that after implemented the projects , the knowledge and attitude of the people was increased statistically significant. The result of developing the ability among peer leaders by using participatory approach was the key of learning to work in community. HIV/AIDS epidemic is a complex problems which involved everybody in community for solving and helping in prevention the spread of the infection and care for people with HIV/AIDS. The cohesiveness among people in urban area is different from rural areas, therefore the leader should have strong potential to be a change agent in the community. The roles of academic, government and private sectors still needed to support community activities to make it more effective.