ชื่อเรื่อง : การได้รับอาหารของผู้ป่วยมะเร็งปอด ชื่อผู้วิจัย : พัชราภรณ์ อารีย์ สุมิตรา ทองประเสริฐ พันทิพย์ จอมศรี บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการได้รับอาหารของผู้ป่วยมะเร็งปอดที่มีภาวะขาดสารอาหารโปรตีนและพลังงาน การศึกษานี้ได้เริ่มศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่จะได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดครั้งแรก กลุ่มตัวอย่างมีทั้งหมดจำนวน 58 ราย ประกอบด้วยเพศชาย 34 ราย และเพศหญิง 24 ราย และมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 58.8 ปี ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอยางได้รับสารอาหารโปรตีนและพลังงานในปริมาณที่น้อยกว่าบุคคลในภาวะปกติ ในกลุ่มตัวอย่างเพศชายได้รับสารอาหารโปรตีน 098+0.50 กรัมต่อวัน หรือคิดเป็นร้อยละ 98.42+49.63 ของปริมาณที่ควรได้รับสำหรับบุคคลในภาวะปกติและได้รับพลังงาน 24.88+9.59 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัมต่อวันหรือคิดเป็นร้อยละ 71.08+27.39 ของปริมาณที่ควรได้รับของบุคคลปกติ สำหรับสัดส่วนของพลังงานที่กลุ่มตัวอย่างได้รับจากอาหารนั้นได้จากโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 15.51+4.55, 38.00+10.42 และ 45.36+12.01 ตามลำดับ และในกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงได้รับสารอาหารโปรตีน 0.85+0.40 กรัม ต่อวัน หรือคิดเป็นร้อยละ 84.85+39.76 ของปริมาณที่ควรได้รับสำหรับบุคคลปกติ และได้รับพลังงาน 24.15+8.92 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัม ต่อวันหรือคิดเป็นร้อยละ 68.99+25.50 ของปริมาณที่ควรได้รับของบุคคลปกติ สำหรับสัดส่วนของพลังงานที่กลุ่มตัวอย่างได้รับจากอาหารนั้นได้จากโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 14.38+4.28 , 36.51+12.22 และ 47.47+15.15 ตามลำดับ นมและผลิตภัณฑ์นมเป็นอาหารเสริมที่กลุ่มตัวอยา่งนำมาบริโภคเสริมมากที่สุดคือ เท่ากับ 38 ราย เป็นเพศชาย 23 ราย และหญิง 15 ราย อาหารแสลงที่กลุ่มตัวอย่างงดเว้นไม่รับประทานมากที่สุดคือ เนื้อวัดและเนื้อควาย อันดับที่สอง และสามรองลงมาคือ อาหารดอง และเนื้อไก่ตามลำดับ ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า โรคมะเร็งปอดทำให้ผู้ป่วยได้รับอาหารลดลง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรจัดอาหารให้ผู้ป่วยได้รับอย่างเพียงพอเท่าที่จะทำได้เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถคงไว้หรือรักษาภาวะโภชนาการของผู้ป่วยไว้ได้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ป่วยสามารถทนต่อการรักษาโรคมะเร็งด้วยเคมีบำบัดได้ดีขึ้น Title : Dietary Intake of Lung Cancer Patients Researcher : Patcharaporn Aree, Sumitra Tongprasert and Puntip Jomsri Office of Researcher : Faculty of Nursing , Chiang Mai University Abstract The purpose of this study was to assess the dietary intake of lung cancer patients with protein-calorie malnutrition. This study was begun before the subjects had received the first course of chemotherapy. Fifty-eight subjects, consisting of thirty-four males and twenty-four females participated in this study. The mean age of subjects was 58.8 year old. The result of this study had shown that protein and energy intake of the subjects was lower than that of normal person. In the male subjects, the protein intake was 0.98+0.50 g/d or 98.42+49.36% as recommendation for normal person and the energy intake 24.88+9.59 Kcal/kg/d or 71.08+27.39 % as the recommendation for normal person. For the percentages of energy distribution from protein fat and carbohydrate, the subjects received from diet, were 15.51+4.55, 38.00+10.36+12.01. respectively. In the female subjects, the protein intake was 0.85+0.40 g/d or 84.85+39.76 % as recommendation for normal person and the energy intake was 24.15+8.92 Kcal/kg/d or 68.99+25.50 % as the recommendation for normal person. For the percentages of energy distribution from protein, fat and carbohydrate, the subjects received from diet, were 14.38+4.28, 36.51+12.22 and 47.47+15.16, respectively. Milk and milk products were the most favourite supplementary food. There were 38 subjects, consisted of 23 males and 15 females, selected these for their supplementary food. Due to cultural effects, beef was the most harmful food. The fermented food and chicken were the second and third of harmful food, respectively. The result of this study suggests that lung cancer reduced their dietary intake. Therefore, it is important to provide suitable nutrition support as much as can be tolerated to these patients, so that their nutritional status will be maintained or improved and hopefully these patients can tolerate chemotherapy better.