การดำเนินงานของโรงพยาบาลในการดูแลสุขภาพบุคลากรเพื่อปิองกันการติดเชื้อ ผศ. จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ รศ.อะเคื้อ อุณหเลขกะ อ.สุชาดา เหลืองอาภาพงศ์ บทคัดย่อ การดูแลสุขภาพของบุคลากรของโรงพยาบาลเป็นกิจกรรมสำคัญกิจกรรมหนึ่งที่โรงพยาบาลทุกแห่งควรมีการดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันมิให้บุคลากรเกิดการติดเชื้อจากการปฏิบัติงาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานในการดูแลสุขภาพบุคลากร และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานเพื่อป้องกันการติดเชื้อขณะปฏิบัติงาน ประชากรที่ศึกษา คือ โรงพยาบาลทุกแห่งในประเทศไทย ทั้งโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสิ้น 1334 แห่ง รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2544 โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เนื้อหาประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปของโรงพยาบาล การดำเนินงานในการดูแลสุขภาพบุคลากร นโยบายของโรงพยาบาลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพบุคลากร และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนจากโรงพยาบาล 1015 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 76.09 ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 98.52ของโรงพยาบาล มีการดำเนินงานเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพบุคลากร ร้อยละ 96.26 มีนโยบายเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพบุคลากร โรงพยาบาลที่มีการดูแลสุขภาพบุคลากรมีการดำเนินงานครบทั้ง 8 กิจกรรมหลัก ร้อยละ 48.0 โรงพยาบาลมีการดำเนินงานเกี่ยวกับการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากที่สุด (ร้อยละ 92.3) รองลงมาคือ การประเมินภาวะสุขภาพ (ร้อยละ 89.6) การเฝ้าระวังการเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงาน (ร้อยละ 89.0) การบันทึกข้อมูลสุขภาพบุคลากร (ร้อยละ 83.2) การกำหนดแนวทางการปฏิบัติของบุคลากรเมื่อสัมผัสโรคติดเชื้อ (ร้อยละ 74.6) การให้คำปรึกษาด้านสุขภาพแก่บุคลากร (ร้อยละ 73.5) การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและป้องกันการติดเชื้อจากการปฏิบัติงาน (ร้อยละ 70.6) และการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (ร้อยละ 30.7) ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานที่พบมากที่สุด คือ ปัญหาเกี่ยวกับผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน (ร้อยละ 97.36) รองลงมาคือ ปัญหาด้านการบริหาร (ร้อยละ 76.14) และด้านงบประมาณ (ร้อยละ 56.47 ) ผลการศึกษานี้สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการส่งเสริมและสนับสนุนให้โรงพยาบาลต่าง ๆ มีการดำเนินงานในการดูแลสุขภาพบุคลากรให้ครอบคลุมทั้ง 8 กิจกรรม เพื่อให้บุคลากรของโรงพยาบาลได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม และปลอดภัยจากการติดเชื้อขณะปฏิบัติงาน Management of employee health program to prevent infection among hospital personal ABSTRACT Employee health program is an important program of hospital. Employee health program should be established and be conducted intentionally and continuously in every hospital in order to protect infections among hospital personnel. This study aimed to determine management of employee health program and problems and obstacles of hospitals in conducting employee health activities. Population were 1334 hospitals in Thailand including government and private hospitals. Data were collected during May to July 2001 by self-administered questionnaires constructed by researchers. The questionnaire consisted of general information of hospital, employee health activities, policy on employee health and problems and obstacles in conducting employee health activities. Response rate was 76.09%. The results of this study revealed that 96.26% had policy on employee health and 98.52% conducted employee health program. Among these hospitals, 48.0% performed all 8 activities of employee health program. Activities in which hospitals performed most were coordination with other departments (92.3%), medical evaluation (89.6), surveillance of job- related illness (89.0%), maintenance of health records (83.2%), management of job-related illnesses and exposures (74.6%), health counseling (73.5%), personnel health and safety education (70.6%) and immunization program (30.7%) respectively. Problems and obstacles found most were responsible personnel (97.36%), administrative aspect (76.14%) and budgeting aspect (56.47%) respectively. This study indicated the necessity to promote and support hospitals to perform all 8 main activities of employee health program in order that hospital personnel have good care and safe from job-related infections and illness.