บทคัดย่อ ผลการสำรวจสถานภาพการผลิต แผนการรับนักศึกษา และความต้องการพัฒนาอาจารย์ของสถาบันการศึกษาพยาบาลจำกัดรับ 64 แห่ง กำลังการผลิตในปัจจุบัน จะผลิตพยาบาลวิชาชีพเฉลี่ยปีละ 7,545 คน ซึ่งต่ำกว่าที่คาดประมาณไว้ปีละ 1,346 คน หรือร้อยละ 16 ซึ่งเสี่ยงต่อการขาดแคลนพยาบาลในอนาคตอันใกล้อันเนื่อง จากหน่วยงานหลายแห่งมีแนวโน้มจะหยุดผลิต หรือลดจำนวนลงเนื่องมาจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นโยบายการปฏิรูประบบราชการและภาวะ เศรษฐกิจของประเทศประกอบกับต่างประเทศมีความขาดแคลนพยาบาลสูงและกำลังมีการดำเนินการเพื่อนำพยาบาลออกไปทำงานในต่างประเทศ อัตราส่วน อาจารย์ต่อนักศึกษาเป็น1: 8.9 ซึ่งยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้คือ 1: 8 สัดส่วนคุณวุฒิอาจารย์ระดับปริญญาเอก : ปริญญาโท : ปริญญาตรี เป็น 0.8 : 7.4 : 17.6 ยังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งกำหนดไว้ในแผนพัฒนาอุดมศึกษาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 9 คือ ปริญญาเอก : ปริญญาโท เป็น 4: 6 ความต้องการพัฒนาอาจารย์ในระดับปริญญาโทมีจำนวนไม่มากคือ 113 คน ต่อปี ในขณะที่กำลังการรับเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทมีถึง 960-1,131 คน ผู้เข้าเรียนส่วนใหญ่มาจากฝ่ายบริการพยาบาลไม่ใช่จากสถาบันการศึกษา ซึ่งคารปรับหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียนคือ การปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ความต้องการ การศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาเอกมีสูงถึงปีละ 105 คน ขณะที่ศักยภาพในการรับนักศึกษาใหม่ของสถาบันการศึกษา 7 แห่ง มีเพียง 63-87 คน/ปี และเมื่อคาด ประมาณความต้องการพัฒนาอาจารย์พยาบาลในระดับปริญญาเอกและหากรวมการผลิตเพื่อทดแทนจำนวนผู้เกษียณอายุราชการใน 20 ปีข้างหน้า พบว่า มีความต้องการ ถึง 1,858 คน ผู้วิจัยเสนอให้มีคณะกรรมการวางแผนกำลังคนในสาขาพยาบาลศาสตร์และสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพอื่น ๆ ในระดับประเทศ เพื่อควบคุมกำกับ สนับสนุน ให้มีการผลิตกำลังคนให้เพียงพอทุกระดับ และมีกลไกให้ได้ข้อมูลที่มีเป็นความต้องการของผู้ใช้และประชาชนจากพื้นที่อย่างชัดเจน ทั้งในด้านปริมาณและ คุณภาพให้มีการวางแผนการใช้ทรัพยากรทั้งบุคคล อาคาร สถานที่ เป็นหน่วยผลิตพยาบาลให้คุ้มค่าที่ได้ลงทุนจากงบประมาณของรัฐเพื่อการผลิตพยาบาล ให้มีการ จัดทำแผนพัฒนาและส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการผลิตในระดับบัณฑิตศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศและทัดเทียมกับต่างประเทศโดยให้ผลิต เองในประเทศเป็นส่วนใหญ่ จัดสรรทุนให้ไปศึกษาต่อต่างประเทศหรือร่วมผลิตกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศเป็นบางส่วน และมีการปรับปรุงหลักสูตรการเรียน การสอนให้มีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับนโยบายการลาศึกษาต่อของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งอาจจัดเป็นช่วง ๆ ไม่ต้องลาเต็มเวลา ประการสุดท้ายผู้วิจัยเสนอให้มีการศึกษา วิจัยด้านการจัดการกำลังคนสาขาพยาบาลศาสตร์ และสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพอื่นอย่างต่อเนื่อง และควรได้ศึกษาการคาดประมาณความต้องการกำลังคนสาขา พยาบาลศาสตร์อย่างรีบด่วน เพื่อวางแผนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ์