ชื่อเรื่อง : แบบแผนสุขภาพ ปัญหา ความต้องการของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุเขตชนบท จ.เชียงใหม่ ชื่อผู้วิจัย : อำไพ ชนะกอก ยุวยงค์ เยาวพานนท์ วันทนีย์ ชวพงค์ บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบแผนสุขภาพ ปัญหา และความต้องการของผู้สูงอายุ และเพื่อเปรียบเทียบแบบแผนสุขภาพ ปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุระหว่าง เพศ ลักษณะครอบครัวและฐานะเศรษฐกิจ โดยทำการศึกษาในผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุที่ตั้งอยู่ในเขตชนบทของจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 307 คน วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงบรรยาย ข้อมูลรวบรวมโดยการสัมภาษณ์ และการตรวจร่างกายผู้สูงอายุ ผลการศึกษาสรุปได้ดังต่อไปนี้ แบบแผนการรับรู้สุขภาพและการดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ปฏิบัติตัวได้ถูกต้องในเรื่องของการดูแลสุขภาพตนเอง การตรวจเช็คร่างกาย การรักษาความสะอาดของร่างกาย และการปฏิบัติตัวเมื่อเจ็บป่วย เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศ ลักษณะครอบครัว ฐานะเศรษฐกิจ พบว่ามีความแตกต่างระหว่างเพศ เรื่องการดูแลตนเองขณะเจ็บป่วย ระหว่างฐานะเศรษฐกิจเรื่องการทำความสะอาดปากฟัน แบบแผนอาหารและการเผาผลาญอาหาร ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีแบบแผนการรับประทานอาหารและน้ำถูกต้อง ผู้สูงอายุที่เพศต่างกันจะมีความแตกต่างกันในเรื่องชนิดและปริมาณของน้ำดื่ม และการเสพสารเสพติด แบบแผนการขับถ่าย ผู้สูงอายุส่วนมากมีแบบแผนถ่ายอุจจาระและปัสสาวะถูกต้อง และยังพบว่าสุขนิสัยในการขับถ่ายมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ระหว่างเพศ และฐานะเศรษฐกิจ นอกนั้นไม่มีความแตกต่างกัน แบบแผนสติปัญญาและการรับรู้ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะขี้ลืม ส่วนมากไม่ค่อยมีปัญหาที่ต้องแก้ไข แต่ถ้ามีปัญหาก็จะปรึกษาบุตรหลาน แบบแผนการพักผ่อนนอนหลับ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีแบบแผนพักผ่อนและการนอนหลับเฉลี่ยวันละประมาณ 8 - 10 ชั่วโมง แบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย ผู้สูงอายุส่วนมากยังคงปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองและยังสามารถปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ได้ และมีการออกกำลังกายโดยสม่ำเสมอ นอกจากนี้พบว่าเพศ และฐานะเศรษฐกิจ มีผลทำให้เกิดความแตกต่างกันในการสันทนาการของผู้สูงอายุ ส่วนลักษณะครอบครัวมีผลทำให้ผู้สูงอายุมีการออกกำลังกายต่างกัน แบบแผนการรับรู้ตนเอง อัตตมโนทัศน์ บทบาทและสัมพันธภาพ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยอมรับในความเปลี่ยนแปลงทางด้านรูปร่างหน้าตาที่เกิดจากความชรา มีความสัมพันธ์ที่ดีกับสมาชิกในครอบครัวและยังคงมีบทบาทในการให้คำปรึกษาแก่บุตรหลาน และร่วมกิจกรรมภายในหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังพบว่าการยอมรับต่อการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างหน้าตามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างลักษณะครอบครัว แบบแผนเพศและการเจริญพันธ์ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่มีความสัมพันธ์ทางเพศแล้ว และฐานะเศรษฐกิจมีผลทำให้เกิดความแตกต่างกันในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ แบบแผนการปรับตัวทนทานกับความเครียด ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหาเกี่ยวกับความเครียดหรือในกรณีที่มีความไม่สบายใจเกิดขึ้นก็มักไปหาเพื่อนฝูงวัยเดียวกัน และไม่มีความแตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบกับตัวแปรดังกล่าว แบบแผนคุณค่าและความเชื่อ ผู้สูงอายุทั้งหมดมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และมีการประกอบกิจกรรมทางศาสนา เมื่อเปรียบเทียบตัวแปรดังกล่าวพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ในด้านปัญหา พบว่าปัญหาด้านร่างกายที่พบมากที่สุดคืออาการทางกระดูกและกล้ามเนื้อ ส่วนปัญหาทางด้านจิตใจคือรู้สึกว่าตนเองทำอะไรไม่ได้เหมือนเดิมและมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของตนเอง และยังพบว่าฐานะเศรษฐกิจและลักษณะครอบครัวมีผลทำให้เกิดความแตกต่างกันในเรื่องความถี่ในการเจ็บป่วยและการเป็นโรคประจำตัว ส่วนด้านจิตใจนั้นพบว่ามีความแตกต่างกันระหว่างเพศ ลักษณะครอบครัวและฐานะเศรษฐกิจ ส่วนความต้องการของผู้สูงอายุนั้น พบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการให้คนทั่วไปยกย่องนับถือต้องการความเคารพจากบุตรหลานและความสงสารเห็นใจจากบุตรหลานและพบว่าผู้สูงอายุที่เพศต่างกันมีความแตกต่างกันในเรื่องความต้องการด้านการเงิน การเคารพจากบุตรหลาน ความสงสารเห็นใจ และไม่ต้องการที่จะทำอะไรให้เป็นที่ขัดใจแก่บุตรหลาน นอกจากนี้ยังพบว่าความต้องการในเรื่องการเลี้ยงชีพ การเลี้ยงดูบุตรหลาน และการได้รับความเคารพจากบุตรหลานของผู้สูงอายุแตกต่างกันระหว่างลักษณะครอบครัว และมีความต้องการในเรื่องการเงิน Title : Health Pattern, Problems and Needs of the Elderly in the Assembly of Rural Area, Chiang Mai Province Researcher : Researcher's E-mail : ABSTRACT The objectives of this research were to study and compare the health pattern, problems, and needs of the elderly who differ in sex. family characteristic of the families and the status of the economy. Among 307 samples were male and female elderly who were the members of the elderly assembly. This study was descriptive research. The data were collected by interviewing and taking physical examination. The result were the following: Health perception and health management pattern. Most of the elderly practiced in a good selfcare. They had the physical examination regularly , good personal hygiene, and took good care of themselves when they were sick. The selfcare during sickness was significant different between the sex, characteristic of the family and economic status and the dental care was significant different between each economic status. Nutritional and metabolic pattern. Most of the elderly had e good nutritional pattern. There were significant difference between the sex in the type and quality of drinking water and abusing substance. Elimination pattern. Most of the elderly had regular bowel movement and urination. This study also found that there were significant difference among the sex and economic status in the habit of elimination. Cognitive - perception pattern. Most of the elderly were forgetable. They did not have many problems to resolve but if they did they consulted with their sibling. Activity and exercise pattern. Most of the elderly performed their daily activities by themselves and they exercised regularly. There were significant different among the sex and economic status in the recreation. The study also found that the characteristic of the family played differently in the exercises. Self-perception, self concept and role relationship pattern. Most of the elderly accepted the change of their body image and had good relatiorship with the family members. They maintained the role of the consultant for thier sibling. Most of them joined the social activities in the community. There was the significant different in the acceptance of changing body image between each family characteristic. Sexuality reproductive pattern. Most of the elderly had no sexual relationship. There was significant different in the sexual relationship between each economic status. Coping - Stress tolerence pattern. Most of the elderly did not have stress. When they were worried they went to see their friends with the same age. Value and belief pattern. All of the elderly had Buddhism to be attached They performed their religions berite regularly. For the physical problems, the results showed that, most of them had joint and muscle pain. For mental health problems, they felt that they had less capability They were worried about their own health. The type of disease was different between each economic status and each family characteristic. There were significant different in mental health problems between different sex, family characteristic and economic status. In term of the elderly's needs, the study showed that the elderly need to be respected by their relatives. There was the significant different (P < .05 ) between the sex in the financial needs, the need for respect, and the need for consideration from the cousins. But they did not want to frustrate their relatives. Each family characteristic had different needs in ways of earning a living, taking care of children and the need for respect from their relatives. There were significant different between the economic status in the financial need.