ชื่อเรื่อง : การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันการติดเชื้อและดูแลผู้ติดเชื้อและดูแลผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ในหมูที่ 12 ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ชื่อผู้วิจัย : รองศาสตราจารย์วิลาวัณย์ เสนารัตน์ รองศาสตราจารย์วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร ผู้ช่วยศาสตราจารย์อะเคื้อ อุณหเลขกะ รองศาสตราจารย์ ดร.สุกัญญา ปริสัญญกุล บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้และทัศนคติของชุมชนเกี่ยวกับโรคเอดส์ ผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์โดยผ่านทางกลุ่มแกนนำ เพื่อพัฒนาศักยภาพของกลุ่มแกนนำในการรณรงค์ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในชมุชนสร้างเครือข่ายในชุมชนในการให้ความช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ ประชากรในการวิจัยคือ ประชาชนในหมู่ 12 ต.ท่าวังตาล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ โดยทำการศึกษาในระหว่างเดือนกรกฎาคม 2539 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2540 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวทางการรวบรวมข้อมูล แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแนวทางการสนทนากลุ่ม ดำเนินการวิจัยโดยคณะผู้วิจัยและอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ด้วยการประเมินชุมชน จัดอบรมแกนนำหมู่บ้าน ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับโรคเอดส์ในชุมชนและประเมินผลโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา Paired t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ครอบครัวที่ทำการสำรวจ 93 ครอบครัว รับรู้เรื่องโรคเอดส์มาประมาณ 4-5 ปี จากสื่อต่าง ๆ โดยได้รับจากสื่อโทรทัศน์มากที่สุด และส่วนใหญ่เคยได้รับความรู้เรื่องยาเสพติดมาแล้วเช่นกัน ผลจากการประเมินชุมชนสรุปปัญหาที่พบดังนี้คือ ประชาชนในหมู่บ้านยังขาดความรู้ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ที่ถูกต้อง ขาดความรู้และประสบการณ์ในการดูแลผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ บางคนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์และเห็นว่าหมู่บ้านควรมีกิจกรรมเกี่ยวกับการป้องกันโรคเอดส์และยาเสพติด จากข้อค้นพบดังกล่าว คณะผู้วิจัยร่วมกับผู้ใหญ่บ้านคัดเลือกตัวแทนจากหมู่บ้านจำนวน 12 คน เข้ารับการอบรมเพื่อทำหน้าที่เป็นแกนนำในการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับโรคเอดส์ในหมู่บ้าน ภายหลังการอบรมแกนนำหมู่บ้านได้ดำเนินการโครงการต่าง ๆ ได้แก่ การสร้างศูนย์ข้อมูลข่าวสารและปฏิบัติการเกี่ยวกับโรคเอดส์และยาเสพติด จัดกิจกรรมการตรวจสุขภาพและให้ความรู้ในการดุแลสุขภาพแก่ชาวบ้าน ประกวดเรียงความกลุ่มเยาวชนเรื่องโรคเอดส์และยาเสพติด จัดนิทรรศการและข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคเอดส์ เยี่ยม และช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ จัดงานลอยกระทงโรคเอดส์ ปรับปรุงสนามกีฬาให้แก่ชาวบ้าน และส่งเสริมให้ผู้ติดเชื้อได้เข้าร่วมในชมรมผู้ติดเชื้อ "ดอกสารภี" ทั้งนี้ได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนจากคณะผู้วิจัย และเจ้าหน้าสาธารณสุขท้องถิ่น การประเมินผลโครงการพบว่า หลังดำเนินโครงการ กลุ่มตัวอย่างชาวบ้านมีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์เพิ่มขึ้นกว่าก่อนดำเนินโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ประชาชนในหมู่บ้านมีการตื่นตัวเรื่องการดูแลสุขภาพมากขึ้น มีการพบปะสังสรรและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารมากขึ้น สร้างความสามัคคีในหมู่บ้านและมีทัศนคติที่ดีต่อผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์มากขึ้น เกิดกลุ่มแกนนำหมู่บ้านที่สามารถดำเนินกิจกรรมการป้องกันการติดเชื้อและดูแลผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ในหมู่บ้าน และผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ได้รับการดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพและสังคมมากขึ้น Title : Community participation in prevention and care for HIV/AIDS clients in Moo 12 Thawangtan subdistric Sarapee distric Chiang Mai province Researcher : Wilawan Senaratana R.N., M.P.H. Wilawan Picheansathian R.N., M.P.H.,M.S. Akeau Unahalekhaka R.N., M.P.H. Sukunya Parisunyakul R.N., Ph.D. Office of research : Faculty of Nursing, Chiang Mai University Chiang Mai, 50200 Tel. (053) 945014 Fax. (053) 217145 Abstract This participatory action research was aimed to enhance knowledge and good attitude toward AIDS and AIDS clients among community people via key leaders, to develop potential of key leaders in the campaign regarding prevention of HIV infection in the community, to create community network and provide counselling to HIV/AIDS clients and their families, and to promote the community acceptance of and support for HIV /AIDS clients. Study population were the villagers in Moo 12, Thawangtan subdistric,Sarapee distric, Chiang Mai province. This study was conducted during July 1996 to November,1997. Research instruments included data collection guideline, a set of questionnaire, an interview form, and a focus group discussion guideline. The research team and village volunteers cooperatively conducted the research process including community assessment, key leaders training, performing activities regarding AIDS in the community, and project evaluation. Data were analyze using descriptive statistics, Paired t-test, and content analysis. The finding revealed that 93 surveyed housholds had perceived about AIDS for 4- 5 years by various medias, mostly a television. Also most of them had gained knowledge regarding drug addiction. The result from community assessment indicated that the villagers still lacked of knowledge and experiences in caring for HIV/AIDS clients, some villagers still had risk behavior for getting AIDS, and most of the villagers viewed that the village should have the activities concerning AIDS and drug abuse prevention. From those findings the researcher and the village head man selected twelve representative of villagers and trained as key leaders for conducting the preventive activities on AIDS in the village. After being trained, the key leaders conducted the activities including establishing the village information center, providine health assessment and educating the villagers on health care, conducting the essay competition on AIDS and drug abuse among adolescent, exhibitingg information about AIDS, visiting and giving support to AIDS clients, conducting AIDS Loy Kathong festival, renovating a sport field in the village, and encouraging HIV/AIDS clients to HIV group called " Dok Sarapee". All of these activities were supported by the research team and local health personnel. According to the project evaluation the villagers gained significantly more knowledge on AIDS (p<.001) that they did previously. They were more interested in health care, more shared information, had more collaboration among villagers, and had better attitude toward HIV/AIDS clients. Furthermore, key leaders were able to conduct HIV/AIDS preventive and care activities in the village, and HIV/AIDS clients had received more health care and social support.