ชื่อเรื่อง : การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ชื่อผู้วิจัย : รองศาสตราจารย์กรรณิการ์ พงษ์สนิท ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ อาจารย์ประพิมพ์ พุทธิรักษ์กุล บทคัดย่อ กลวิธีของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมได้ถูกนำมาประยุกต์ในการศึกษาครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการมีส่วนร่วมของชุมชน และปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนใน 6 หมู่บ้านของตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วย 3 กลุ่ม กล่าวคือ หัวหน้าครอบครัวของแต่ละครัวเรือนในหมู่บ้านที่ทำการศึกษา กลุ่มผู้นำชุมชนและกลุ่มประชาชนของแต่ละหมู่บ้าน เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพโดยใช้แบบสำรวจที่สร้างขึ้นตามเกณฑ์ จปฐ. และแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่มสร้างขึ้นโดยคณะผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตของประชาชนทั้ง 6 หมู่บ้านตามเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน 9 หมวด 37 ตัวชี้วัดยังไม่เป็นไปตามมาตรฐาน หรือบรรลุเป้าหมายครบตามที่กำหนด และประการสำคัญ ไม่มีหมู่บ้านใดบรรลุเป้าหมายครบทั้ง 37 ตัวชี้วัด โดยภาพรวมจำนวนตัวชี้วัดที่แต่ละหมู่บ้านบรรลุเป้าหมายอยู่ในช่วง 13-24 ตัวชี้วัด ในด้านของการมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมการแก้ไขปัญหาสุขภาพยังเกิดขึ้นน้อย และไม่ได้เป็นไปอย่างต่อเนื่องในทุกขั้นตอนของกระบวนการแก้ไขปัญหา เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบทั้ง 6 หมู่บ้าน ผู้นำชุมชนของหมู่ 2 หมู่ 3 หมู่ 4 หมู 8 และประชาชนหมู่ 2 หมู่ 4 หมู่ 8 มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพมากกว่าหมู่บ้านอื่น ๆ ปัจจัยที่ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สำคัญคือ ความตระหนักในความสำคัญของปัญหา แรงจูงใจจากผลประโยชน์ที่ชุมชนได้รับความตั้งใจของชุมชนและพันธะผูกพันหรือความรับผิดชอบของชุมชน ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของการมีส่วนร่วมดังกล่าวคือ "เวลา" ที่ไม่สอดคล้องระหว่างสมาชิกในชุมชนและทีมปฏิบัติงาน รวมทั้งขาดทักษะพื้นฐานที่สำคัญในการทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต จำเป็นที่จะต้องปรับ "เวลา" การปฏิบัติงานของทีมงานให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในชุมชน ร่วมกับประยุกต์กระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม โดยเฉพาะการสร้างศักยภาพในการสื่อสารข้อมูลการทำงานเป็นทีม และการแก้ไขปัญหา และที่สำคัญภูมิปัญญาท้องถิ่นจะต้องนำมาพิจารณาใช้ร่วมกับ จปฐ. ในการวิเคราะห์สถานการณ์ของชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้ได้แนวทางการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมกับ "บริบท" ทางสังคมวัฒนธรรม และทรัพยากรในชุมชน ตลอดจนผสมผสานความรู้สมัยใหม่และดั้งเดิม เพื่อก่อให้เกิดการยอมรับและการปฏิบัติที่ยั่งยืนในชุมชนสืบไป Title : Community Participation in Quality of Life Development Researcher : Kannikar Pongsanit, Chawapronpan Chanprasit, Prapim Buddhirakkul Office of Researcher : Faculty of Nursing, Chiang Mai University Abstract The approach of participatory action Researcher was adopted in this study aiming to examine the community participation regarding the development of quality of life as well as factors affecting such participation among the community members who resided in six villages of Tambon Khun-khong, Amphoer Hang-Dong, Chiang Mai Province. The study sample comprised three main groups: the head of each village household, the community leaders, and the community member of each study village. Desired data, both quantitative and qualitative, were obtained through the survey form of basic minimum needs (BMN) and question guide for focus group discussion. Descriptive statistics and content analysis were then employed for data analysis. The major findings revealed that the quality of life among the six study villages according to 37 indicators was under the standard or was still a long way off to achieve the ultimate goal of BMN. Most importantly, none of the six villages was met the overall ultimate goal of the 37 indicators. In general, each village varied in achieving the ultimate goal of the indicators, ranging from 13 to 24 indicators. With regard to community participation in health problem solving, it was found that such participation was at the low level and was not continued in each stage problem solving of community health problems. By and large, the community leader of village 2, 3 , 4 and 8 including the community members of village 2 , 4 and 8 had more participation than the others. Factors fostering such participation included community awareness, motivation toward community benefit, community willingness, and community commitment whilst factors impeding community participation was related to the misfit of 'time' between the community member and health team (staff and nursing students) and lack of basic skills necessary for health development. The results, hence, indicated that to enhance the community participation in development of quality of life, it is necessary to adjust 'time' appropriate for working with the community along with to adopt the technique of participatory development. In particular, skills regarding communication, problem-solving and team building need to be strengthened. Moreover, local wisdom is rendered the need to be taken into account in situational analysis of the community, apart from the survey form of basic minimum needs. This is anticipated to gain the guideline in problem solving in the community suitable to sociocultural context and community resource. In addition, an integration between modern knowledge and local wisdom is suggested since it will lead to sustainable community acceptance and practice.