ชื่อเรื่อง : การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัย ชื่อผู้วิจัย : รองศาสตราจารย์กรรณิการ์ พงษ์สนิท อาจารย์วันเพ็ญ ทรงคำ อาจารย์เดชา ทำดี บทคัดย่อ การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปัญหาสุขภาพอนามัยของชุมชนและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผนแก้ไขปัญหาและความต้องการของประชาชน กลุ่มตัวอย่างคือผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน และประชาชนที่เป็นตัวแทนของครอบครัว จำนวน 251 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 79.68 ของประชากรทั้งหมดในบ้านถวาย หมู่ 2 และบ้านสารภี หมู่ 4 ตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2542 ถึงเดือนมีนาคม 2543 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสำรวจข้อมูลประชากรและข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน แบบสอบถามภาวะสุขภาพอนามัย การเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่จำเป็นสำหรับชีวิต และการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการวางแผน แบบบันทึกการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และการจัดทำแผนและโครงการ ดำเนินการวิจัยโดยการเตรียมพื้นที่ อบรมผู้นำชุมชน สอบถามปัญหาและความต้องการ อภิปรายกลุ่ม การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาความต้องการ สัมภาษณ์และสังเกตการมีส่วนร่วมในการเขียนแผนและโครงการแก้ไขปัญหาและความต้องการของชุมชน ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาสุขภาพอนามัย กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 หมู่บ้าน มีความจำเป็นพื้นฐานไม่ผ่าน 20 ตัวชี้วัดในหมู่ 2 และ 15 ตัวชี้วัดในหมู่ 4 จาก 39 ตัวชี้วัดโดยเฉพาะในเรื่องการประกอบอาชีพและมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 20,000 บาท/คน/ปี มีเพียงร้อยละ 13.15 ในหมู่ 2 และร้อยละ 58.90 ในหมู่ 4 กลุ่มตัวอย่างยังคงรับประทานอาหารที่ไม่ได้ปรุงให้สุกด้วยความร้อน ร้อยละ 22.29 และ 70.88 หมู่ 2 มีความรู้ในการใช้ยาที่ถูกต้องเพียงร้อยละ 53.60 ด้วยเหตุเชื่อการโฆษณาทางสื่อต่าง ๆ นอกจากนี้ยังถูกรบกวนจากมลพิษถึงร้อยละ 53.68 กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพเพียงร้อยละ 57.33-67.68 ในหมู่ 2 และ ร้อยละ 49.43-77.01 ในหมู่ 4 เมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อยจะใช้บริการที่สถานีอนามัย เจ็บป่วยมากจะไปรักษาที่โรงพยาบาลนครพิงค์และได้รับการเยี่ยมเยือนเมื่อเจ็บป่วย ร้อยละ 64.64 ในหมู่ 2 และนำส่งโรงพยาบาล ร้อยละ 60.37 ส่วนหมู่ 4 ได้รับการช่วยเหลือมากที่สุดเมื่อเจ็บป่วยคือนำส่งโรงพยาบาลถึงร้อยละ 86.21 ทั้ง 2 หมู่บ้านมีคะแนนการปฏิบัติตัวสูงทุกข้อในการเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่จำเป็นสำหรับชีวิต ร้อยละ 82.11-99.67 ยกเว้นการออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ซึ่งหมู่ที่ 2 มีคะแนนปานกลางเพียงร้อยละ 65.02 นอกจากนี้ทั้ง 2 หมู่บ้านไม่เคยได้รับความรู้เกี่ยวกับการเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่จำเป็นสำหรับชีวิต ร้อยละ 62.89 และร้อยละ 65.90 2. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผนแก้ไขปัญหาและความต้องการของประชาชน กลุ่มผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมปานกลางถึงมากในการรวบรวมข้อมูล การระบุปัญหาสุขภาพประชาชน การมีส่วนร่วมในการปรึกษากับเพื่อนบ้าน ชุมชน เจ้าหน้าที่หรือชุมชนที่เกี่ยวกับการหาแนวทางแก้ไขปัญหาสุขภาพประชาชน การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและการเขียนแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชน สำหรับการมีส่วนร่วมในการเข้าใจแผนทั้งหมดและการรับผลประโยชน์จากการทำแผนและโครงการแก้ปัญหาสุขภาพ ผู้นำชุมชนทั้ง 2 หมู่บ้านมีคะแนนการมีส่วนร่วมมาก คิดเป็นร้อยละ 100 แต่ผู้นำชุมชนไม่มีการมีส่วนร่วมในการเขียนโครงการ คิดเป็น ร้อยละ 100 ด้วยเหตุผลว่าไม่เข้าใจในการเขียน เพราะเป็นเรื่องวิชาการที่ต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ เนื่องจากไม่เคยได้รับการอบรมมาก่อน ดังนั้นจึงควรจัดให้ผู้นำชุมชนได้รับการอบรมให้มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ในการดำเนินการค้นหาปัญหา การวางแผน การเขียนโครงการ การดำเนินงานตามแผนและการประเมินผล เพื่อพัฒนาหมู่บ้านให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน อันนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนตลอดไป Title : Participatory Develoment of Community in Health Planning Researcher : Associate Professor Kannikar Pongsanit Miss Wanpen Songkham Mr.Decha Tamdee Researcher's E-Mail : nsikpngs@cmu.chiangmai.ac.th Abstract The action research aimed to determine health problems and participation of the community in planning to solve the community health problems. The sample were 20 community leaders and 251 households of the families' representative ( 79.68 % of all population) in Moo 2, Ban-Tawai and Moo 4, Ban-Sarapee in Tambal Kunkong, Ampur Hangdong, Chiang Mai Province, during May 1999 to March 2000. The instruments consisted of demographic data and basic minimum need survey forms , the interview forms of health status, health behavior, and the participation of community leader in planning, priority setting, planning and project . This research was implemented by preparing the study area, training of community leaders, interviewing, group discussion and observation of community participation in planning and project writing. The results were as following : 1. Twenty and fifteen basic minimum need indicators were not reach the standard criteria (39 indicators) in Moo 2 and Moo 4 respectively. Especially low in occupational and income (20,000 baht/capita) 13.15 % in Moo 2 and 58.90 % in Moo 4, and they still ate uncooked food. 53.60 % of people in Moo 2 had proper knowledge on drug use and 53.68 % were disturbed by pollution. Range of health knowledge score among sample in Moo 2 were 57.2 - 67.7 and 49.4 - 77.01 in Moo 4. They went to health center when they had mild sickness and went to Nakornping Hospital when they had severe sickness. 64.64 % of the sample who were sick in Moo 2 were visited , 60.37% of them were sent to the hospitals and 86.2% of sample in Moo 4 were sent to the hospital. The samples in these two villages had high score (82.11-99.67 %) of health promotion behavior. However, it was found that the exercise at least three times a week in Moo 2 was 65.02% . Moreover, 62.89% and 65.90% of the sample in these two villages had never known about the health promotion behavior. 2. Community leaders in these two villages participated moderate to high level in data collection, identification of health problems, participation with neighbors, community and health care workers in priority setting and health planning. 100% of them participated in understanding the whole planning and got benefit from planning and project. But 100 % of them did not participated in project writing, since they did not understand how to write the project. Therefore, the training should be arranged for the community leaders in order to increase their knowledge, ability and experience in health identification, planning, project writing, implementation and evaluation. Consequently, the villages will be developed to be self-help continuously and constantly which will lead to the quality of life of the people.