บทคัดย่อ จากปัญหาความขาดแคลนทั้งด้านคุณภาพและปริมาณของพยาบาลอาชีวอนามัยในสถานประกอบการโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ได้สะท้อนถึงความต้องการพยาบาลอาชีวอนามัยการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey study) ได้พัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความต้องการพยาบาลอาชีวอนามัย และการดำเนินงานพยาบาลอาชีวอนามัยในสถานบริการและในโรงงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน กลุ่มสถานบริการประกอบด้วย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงเรียน สถานศึกษา แรงงานและสวัสดิการสังคม สำนักงานประกันสังคม ศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อม และกลุ่มโรงงานที่มีพนักงานมากกว่า 200 คนขึ้นไป จำนวน 1,216 แห่ง ได้รับแบบสอบถามคืน 360 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 29.6 รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามส่งทางไปรษณีย์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า ทั้งกลุ่มสถานบริการและกลุ่มโรงงานน้อยกว่าครั้ง (ร้อยละ 48.9) มีพยาบาลที่ทำงานหรือสอนวิชาที่เกี่ยวข้องกับด้าน อาชีวอนามัย กลุ่มผู้บริหารร้อยละ 6.1 เห็นว่า พยาบาลที่ทำงานอยู่ควรปรับปรุงคุณภาพของการปฏิบัติงานให้มากขึ้น และร้อยละ 54.2 มีความต้องการให้พยาบาลในหน่วยงานได้เข้ารับการอบรมหลักสูตรเฉพาะทางการพยาบาลอาชีวอนามัยโดยเฉพาะหลักสูตรระยะสั้น 3 เดือน ที่ดำเนินการโดยคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในสถานบริการ พบว่า หน่วยงานร้อยละ 59.6 มีความต้องการพยาบาลอาชีว อนามัยสำหรับการปฏิบัติงานของพยาบาลในสถานบริการมีดังนี้ งานด้านบริหารอาชีวอนามัย งานที่ทำเป็นประจำมากที่สุดคือ จัดดำเนินการประเมินผลการให้บริการด้านอาชีวอนามัย (ร้อยละ 42.9) ด้านบริการและประสานงานด้านอาชีวอนามัย งานที่ทำประจำมากที่สุด คือ ปฏิบัติตามโครงการสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพ (ร้อยละ 40.9) ส่วนงานวิจัยและวิชาการด้านอาชีวอนามัยที่ทำเป็นประจำมากที่สุดคือ การนำผลงานวิจัยด้านอาชีวอนามัยมาประยุกต์ใช้ (ร้อยละ 22.1) ที่น่าสังเกตคือ งานที่ไม่ได้ทำมากที่สุดคือ การพัฒนาหลักสูตรหรือโครงการที่เกี่ยวข้องด้านอาชีวอนามัย (ร้อยละ 55.5) และการส่งเสริมหรือมีส่วนร่วมในงานวิจัย ทางด้านอาชีวอนามัย (ร้อยละ 38.1) ในด้านโรงงาน พบว่าร้อยละ 59.5 ระบุความต้องการพยาบาลอาชีวอนามัยและพยาบาลที่ทำงานในโรงงาน มีการปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยตามมาตรฐานเชิงโครงสร้างด้านที่ทำมากที่สุดคือ การให้บริการรักษาพยาบาลเบื้องต้น (ร้อยละ 99.0) การรวบรวมสถิติ การเจ็บป่วย อุบัติเหตุและปัญหาอื่น ๆ (ร้อยละ 97.1) การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพและปัญหาที่เกี่ยวข้อง (ร้อยละ 97.0) การจัดระบบส่งต่อเพื่อการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง (ร้อยละ 95.1) การตรวจสุขภาพพนักงานเมื่อมีการเจ็บป่วย (ร้อยละ 94.1) การจัดพาหนะสำหรับการส่งต่อเพื่อการรักษา (ร้อยละ 93.0) การให้สุขศึกษาด้านสุขภาพและส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานแก่พนักงาน (ร้อยละ 93.0) ระบบการจัดเก็บบันทึกรายงานเหมาะสมเป็นระเบียบ (ร้อยละ 91.1) การตรวจสุขภาพพนักงานเป็นระยะ ๆ (ร้อยละ 83.0) และบันทึกการพยาบาล (ร้อยละ 93.0) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงความต้องการพยาบาลอาชีวอนามัย ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ของสถานบริการและโรงงาน ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องพัฒนาพยาบาลที่ปฏิบัติงานให้มีศักยภาพและความสามารถในการให้บริการพยาบาลอาชีวอนามัยยิ่ง ๆ ขึ้น โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาควรมีหลักสูตรหรือโครงการอบรมทางด้านการพยาบาลอาชีวอนามัยเพื่อรองรับความต้องการดังกล่าว Abstract The shortage of occupational health nurses both quality and quantity, especially in the industrial sectors, reflects the need for these nurses. This survey study was developed aiming to explore the need for occupational health nurses and their practice both in governmental and non-governmental health service sectors, including industrial sectors. The health service sectors included provincial public health services, hospitals, educational institutions, provincial labor and social welfare offices, provincial social security offices, and environmental health centers. The industrial sectors consisted of industries with over 200 employees. Questionnaires were mailed to 1,216 randomly selected samples and only 360 questionnaires (29.6%) were returned. Data were analyzed using descriptive statistics. The major results revealed that less than half (48.9%) of both health service sectors and industrial sectors employed nurses as educators or health care providers responsible for occupational health. The administrator group (6.1%) suggested that nurses should improve the quality of their practice, and 54.2 per cent of this group reported the need for nurses to attend a short training course of occupational health nursing, especially a 3-month training course offered by Faculty of Nursing, Chiang Mai University. Regarding health service sectors, 59.6 per cent of them reported that their organizations needed occupational health nurses. According to the practice of nurses in health service sectors, it was found that the roles of administrator that most perform was an evaluation of occupational health services (42.9%), while that of clinician and coordinator, that most practice was an operation of health program to reduce risk factors and promote safe working among employees (40.9%). The roles of researcher and educator that most routinely practice was an application of research studies in their working/education (22.1%), while that least practiced was related to develop curriculum or educational program concerning occupational health (55.5%), or involving in occupational health research (38.1%). For industrial sectors, 59.5 per cent of them suggested that their work sectors needed occupational health nurses. Nursing practices done according to the professional structural standard were primary medical care (99.0%), health statistics managing (97.1%), health problem or related problem counseling (97.0%), managing of referring service (95.1%), health check up in case of illness (94.1%), arrangement of referring vehicle (93.0%), employees' health and safety education and promotion (93.0%), employees' health profile system managing (91.1%), employees' health surveillance (83.0%), and record keeping (83.0%). The findings in this study, thus, indicated the need not only occupational health nursing but also an improvement of both quality and quantity of occupational health nurse both in health service and industrial sectors. All responsible bodies have to strengthen their nurses' potentiality and capability to provide effective occupational health services. Especially, educational institutions should develop or offer curriculum or training program in this specialty area in respect to such need.