การศึกษาพฤติกรรมอนามัยของประชาชนในพื้นที่ปฏิบัติงานโครงการหลวง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นชาวเขาเผ่าลีซอ มูเซอดำ ม้ง และกะเหรี่ยง จำนวน 4 หมู่บ้าน รวม 227 หลังคาเรือน รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก และสนทนากลุ่ม หัวหน้าครัวเรือนและแม่บ้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 89.8 มีอาชีพเกษตรกรรม การศึกษาระดับประถมศึกษา และไม่ได้เรียนหนังสือร้อยละ 44.98 มีรายได้ครอบครัว ไม่แน่นอนและต่ำกว่า 1,000 บาทต่อปี ร้อยละ 12.32 อนามัยสิ่งแวดล้อมไม่เป็นระเบียบร้อยละ 59.14 ไม่มีส้วมใช้ร้อยละ 24.62 ในระยะตั้งครรภ์ มีการฝากครรภ์เกิน 4 ครั้ง ไม่มีข้อห้ามงดการมีเพศสัมพันธ์ ยังคงทำงานหนักในไร่ และงดเดินทางไกลจนกระทั่งคลอด ไม่ดื่มสุรา กาแฟ หรือบุหรี่ แต่รับประทานผงชูรส ในระยะหลังคลอด แต่ละเผ่าจะมีความเชื่อและยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเพื่อความสุขสบายของตนเองและบุตร ไม่อาบน้ำ สระผม งดทำงานหนัก 1 เดือน ด้านการเลี้ยงดูเด็ก พบว่า ทุกเผ่าให้นมบุตรอย่างเดียวถึง 5 เดือน ยกเว้นเผ่ากะเหรี่ยงจะเคี้ยวข้าวป้อนให้ทันทีแรกเกิด การหย่านมมีแตกต่างกันตั้งแต่อายุ 1-3 ปี ด้านพิธีกรรมและความเชื่อในการรักษาพยาบาลทุกเผ่าเชื่อว่าการเลี้ยงผีช่วยให้สมาชิกในครอบครัวสุขสบาย การเจ็บป่วยเกิดจากผีกระทำ จึงให้ความสำคัญกับหมอผีมาก เมื่อมีสมาชิกในครอบครัวตาย จะเก็บศพไว้ที่บ้าน และทำการเผาหรือฝังตามประเพณีที่ยึดถือ สรุป พฤติกรรมอนามัยของประชาชนในพื้นที่ปฏิบัติงานโครงการหลวง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ส่วนใหญ่มีข้อปฏิบัติและข้อห้ามที่ยึดถือ เนื่องจาก การศึกษาอยู่ในระดับต่ำทำให้ขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง และอาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลสถานบริการสุขภาพ จึงทำให้พฤติกรรมอนามัยยังไม่เหมาะสม ดังนั้นการดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวเขา จึงควรผสมผสานและให้ความสำคัญด้านการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ไปกับการดูแลสุขภาพด้วยการ แพทย์แผนปัจจุบันควบคู่กันไป This descriptive research is a study of the health behavior among the people in the Royal Project area, Chiang Mai province. Four villages composed of 227 Lisu, Lahu, Meo and Karen hilltribe households were the samples selected by purposive sampling. The heads of the households and wives were interviewed indepth and participated in focus group discussions. data were analyzed by descriptive statistics and content analysis. Results. The results of the study found that 89.8 of the samples worked in agriculture, 44.98 percent had attended only primary school and were illiterate, 12.32 percent earned irregular and low incomes less than 1,000 baht per month. 59.14 percent of the houses had inadequate sanitation, 24.62 percent did not have latrines. During preganancy periods, pregnanat women had attended antenatal clinics more than four times, and there was no taboos about sex relations, Every pregnant women worked hard, took no exercise, and did not travel until delivery. They did not drink alcohol, coffee, or smoke cigarette, but took some sodium glutamate. During post partal periods, among each group of hilltribes, there were taboos and rituals to prevent illness during the post partal period and for the new born babies. Common practices were to avoid bathing and washing thair, and not to work hard for 1 month. For the new born babies, most of them were breast fed until 5 months old except the Karen people who gave the babies some rice to chew immeediately after birth. Wearning times were different, from 1-3 years of age. For beliefs and spiritual ceremonies, the samples believed that spiritual ceremonies would lead to happiness among the family members, and illness was caused by disrespect for spirits. The person who managed all the spiritual ceremonies related to daily living and illness was an important person. When family members died, they kept the dead body at home before cremation or burying. Conclusion. The study of health behavior among the people in the Royal Project Area, Chiang Mai Province found that most of these people had taboos and beliefs, and levels of education, which were the cause of lack of knowledge in self care behavior. Moreover, because they lived in such remote areas and far from health care centers, so their health behavior was not appropriate. Therefore, it is necessary to integrate the methods of ritual ceremony with modern medicine for the hilltribe people in order to improve their quality of life.