การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการเปลี่ยนแปลงในวัยหมดประจำเดือนของบุคลากรหญิงในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางสังคม สัมพันธภาพภายในครอบครัวและญาติใกล้ชิด นิสัย ระยะของการหมดประจำเดือน ภาวะสุขภาพเดิม จำนวนสมาชิกในครอบครัวกับอาการที่เปลี่ยนแปลงในวัยหมดประจำเดือน และความสัมพันธ์ระหว่างอายุที่หมดประจำเดือน การใช้และระยะเวลาที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด จำนวนครั้งการแท้งบุตร อายุที่คลอดบุตรคนสุดท้าย กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรหญิงมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อายุระหว่าง 45-59 ปี เลือกโดยวิธีสุ่มแบบง่าย จำนวน 267 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .80 ข้อมูลจากแบบสอบถามที่ตอบแล้วและส่งกลับคืน 205 ชุด ได้รับการวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์เพียร์สัน และ ความถดถอยพหุคูณ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีปัญหาหรืออาการที่เปลี่ยนแปลงในวัยหมดประจำเดือนโดยรวมร้อยละ 92.7 ปัญหาหรืออาการที่พบบ่อย ได้แก่ ปัญหากระดูกและข้อ (ร้อยละ 74.1) กลุ่มอาการที่สัมพันธ์กับการหมดประจำเดือน (ร้อยละ 65.9) กลุ่มอาการร้อนวูบวาบ (ร้อยละ 60.5) กลุ่มอาการทางจิต (ร้อยละ 53.7) ปัญหาอวัยวะสืบพันธุ์หรือช่องคลอด (ร้อยละ 53.2) ปัญหาเพศสัมพันธ์ (ร้อยละ 39.5) และปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะ (ร้อยละ 48.8) นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 24.9 มีโรคเรื้อรังเช่น ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ สภาพแวดล้อมทางสังคม สัมพันธภาพภายในครอบครัวและญาติใกล้ชิด นิสัย ภาวะสุขภาพเดิมของกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์เชิงลบกับอาการ ที่เปลี่ยนแปลงในวัยหมดประจำเดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05, .001 , .001 และ r=-.17 , -.22 และ -.35 ตามลำดับ) จำนวนสมาชิกในครอบครัว ระยะของการหมดประจำเดือนของกลุ่มตัวอย่าง มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอาการที่เปลี่ยนแปลงในวัยหมดประจำเดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05, .01 และ r = .15 , และ .26 ตามลำดับ) และปัจจัยดังกล่าวสามารถพยากรณ์อาการที่เปลี่ยนแปลงในวัยหมดประจำเดือนได้ร้อยละ 21.5 อายุที่หมดประจำเดือนของกลุ่มตัวอย่าง เฉลี่ย 48 + 3 ปี การใช้และระยะเวลาที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอายุที่หมดประจำเดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05 . และ r = .24) แต่จำนวนครั้งการตั้งครรภ์ อายุที่เริ่มมีประจำเดือน จำนวนครั้งการแท้งบุตร อายุที่คลอดบุตรคนสุดท้าย ไม่มีความสัมพันธ์กับอายุที่หมดประจำเดือน คำสำคัญ : อาการที่เปลียนแปลงในวัยหมดประจำเดือน วัยหมดประจำเดือน ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง บุคลากรหญิงในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ The main foci of this study was to describe the symtom changes during menopausal period among female staff working at Chiang Mai University. The study also examine the association between such change and related factors, such as the socio-environmental condition, relationship within the family and their close relatives, personal habit, menopausal stage (pre-post menopause), previous health status and the number of family members, Additionally the relationship between the age of menopause and other important factors such as parity, menache, duration of taking hormonal pills, number of abortion and the age of last delivery was included. The study samples who were female staff at Chiang Mai University, and aged between 45 and 59 was chosen randomly. The total number of the sample was 205. The research tool was a questionnaire which its reliability (conbach's coefficient alpha) was .80. Data were analysed by descriptive statistics, Pearson's product moment correlation coefficient, chi-square, and multiple regression. The major findings showed that 92.7 percent of the sample had symtom changes during menopausal period. Of this group, the most common symtoms found were as follows : 74.1 percent of them got the problem of bone and joint; 65.9 percent had the problem that related to menopausal syndrome; 60.5 percent got the problem of hot fulsh; 53.7 percent had psychological symtom; 53.2 and 39.5 percent of them had the problem of genital tract and sexual relating ; and 48.8 percent got the problem of urinary tract system. Besides, it was also found that one-fourth of them were suffered from chronic illness such as hypertension, and heart disease. In addition, it was found that symtom changes during menopause had negative relationship statistically with the following factors : socio-environmental condition, relationship within the family and their close relations, personal habit and previous health status (p < .05, .001, .001 and r = .17 , .22 and .35 respectively). Nontheless, such change significantly positive relationship with the number of family member and menopausal stage (p < .05 , .01 and r = .15 and .26 respectively). Also 21.5 percent of the variation in symtom changes during menopause could be explained by such factors. The mean age at menopausal period was 48 + 3 years and it had positive relationship significantly with the duration of taking hormonal pill (p < .05 and r = .24) . However, the age of menopause was not associated with parity, menache, number of abortion and the age at last delivery.