ชื่อเรื่อง : การพัฒนาสุขภาพอนามัยของประชาชนบ้านกวน หมู่ 6 ตำบลหารแก้ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ชื่อผู้วิจัย : รองศาสตราจารย์กรรณิการ์ พงษ์สนิท ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชูศรี วงศ์เครือวัลย์ อาจารย์เดชา ทำดี อาจารย์วันเพ็ญ ทรงคำ E-mail : nsikpngs@cmu.chiangmai.ac.th บทคัดย่อ การพัฒนาสุขภาพของประชาชนในหมู่บ้านกวน ตำบลหารแก้ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความจำเป็นพื้นฐานของประชาชน สุขภาพอนามัยของประชาชนและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอนามัยของประชาชน กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชน ผู้นำชุมชน อดีตผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย และอาสาสมัครหมู่บ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสำรวจข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหมู่บ้าน แบบสำรวจข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน แนวคำถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน ปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของประชาชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเชิงเนื้อหา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า 1. หญิงตั้งครรภ์ปฏิบัติตัวได้ถูกต้องตามเกณฑ์ จปฐ. ร้อยละ 88.90-100 ทารกแรกเกิดถึง 1 ปี ได้รับสารอาหารไม่ถูกต้องตามวัย ร้อยละ 16.67 ทารกแรกเกิดถึง 5 ปี และ 6-15 ปี ขาดสารอาหารระดับ 1 ร้อยละ 13.33 และ 1.52 ตามลำดับ สมาชิกในครัวเรือนส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.72 รับประทานอาหารสุกๆดิบๆ ร้อยละ 13.89 รับประทานยาชุด ร้อยละ 50.70 มีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ คนในครัวเรือนมีความสุขสบายไม่เป็นไปตามเกณฑ์ จปฐ. ในเรื่องความอบอุ่นในครอบครัว ความปลอดภัยจากอุบัติเหตุและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินร้อยละ 10.42 17.36 และ 0.69 ตามลำดับ ครอบครัวมีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ.ร้อยละ 50.69 การไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคมมีเพียงร้อยละ 14.58 มีสมาชิกในครัวเรือนสูบบุหรี่ ร้อยละ 11.29 และไม่ปฏิบัติศาสนกิจ ร้อยละ 47.92 นอกจากนี้ยังพบว่าสมาชิกในครัวเรือนไม่ได้ร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและป้องกันควบคุมสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 42.4 และ 43.06 ตามลำดับ หมู่บ้านนี้ผ่านเกณฑ์ จปฐ. เพียงร้อยละ 38.46 2. ประชาชนส่วนใหญ่ที่เจ็บป่วยเป็นผู้สูงอายุ โรคที่พบบ่อยได้แก่ เก๊าท์ ปวดข้อ นอกนั้นคือโรคกระเพาะอาหาร โรคความดันโลหิตสูง โรคระบบประสาท โรคปอด หอบหืด เมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อยส่วนใหญ่จะไปรับการรักษาที่สถานีอนามัย 3. ประชาชนเพียงส่วนน้อยที่มารับการรักษาที่สถานีอนามัย ประชาชนนิยมไปรักษาที่โรงพยาบาลหรือคลินิกเพราะหมู่บ้านนี้อยู่ใกล้เขตเมือง ซึ่งสะดวกที่จะใช้บริการดังกล่าวมากกว่าที่สถานีอนามัย นอกจากนี้ ยังพบว่าความสามารถของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยและอาสาสมัครหมู่บ้านมีความจำกัด ในการให้คำแนะนำ และให้การรักษาเจ็บป่วยได้เพียงบางอย่างเท่านั้น จึงทำให้ประชาชนขาดความเชื่อถือเป็นเหตุให้ไปใช้บริการจากแหล่งอื่น ประชาชนบางคนยังมีความต้องการให้เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยไปเยี่ยมบ้าน 4. กิจกรรมในการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคได้แก่ การตรวจสุขภาพ การให้สุขศึกษาเกี่ยวกับสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม การออกกำลังกาย และการเยี่ยมบ้านผู้เจ็บป่วย ซึ่งพบว่าผู้ป่วยมีความรู้ที่ไม่ถูกต้องในเรื่องโรคและการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม ดังนั้น การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคโดยเฉพาะในผู้สูงอายุและเด็กควรได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บุคคลเหล่านี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป Title : Health Development of People in Ban Quan Mou 6 Han Kaew Subdistrict Hang Dong DIstrict Chiang Mai Province Researcher : Associate Professor Kannikar Pongsanit Assistant Professor Chusri Wongkruawan Mr.Decha Tamdee Miss Wanpen Songkham Researcher's E-mail : nsikpngs@cmu.chiangmai.ac.th Abstract This action research aimed to survey basic minimum need health status and health problem in Ban Quan Mou 6 , Han Kaew Subdistrict , Hang Dong District , Chiang Mai Province. The sample were villagers, community leaders, former community leaders, health staffs, and village health volunteers. The instruments were basic minimum need survey form, guideline of subjects' general information, and health problems. The research was performed by mapping, basic minimum need survey, survey of problems and barriers related to health, and implementation to solve health problems. Data were analyzed by descriptive statistics and content analysis. Results of this study revealed that: 1. 88.90-100% of Pregnant women took good care of themselves according to basic minimum need. Almost seventeen percent of infant did not obtain appropriate supplement food to their age. Preschool children and children aged between 6-15 years with first-degree malnutrition were 13.3 %, and 1.52 %, respectively. About 64% of family member ate raw food, and 13.89 % took unpresbribed drugs. According to the basic minimum need, family numbers were understandard in case of happy home , life security and property security. The percentage were 10.42, 17.36 and 0.69 respectively. About fifty-one percent of family had income lower than the basic minimum need criteria. Almost fifteen percent of family members did not participate in community' s activities. Morever, 11.29 % of family member did smoke, and 47.92 % did not religious activities. It was found that 42.36% and 43.06% of family members did not involve in natural resource preservation and protect an environment. This village met the criteria of basic minimum need only 38.46 %. 2. The majority of sick people were the elderly. The diseases which effected health of population were Gout, Arthritis. The rest were Hypertension, diseases related to nervous system, Lung disease, and Asthma. People went to health center only when they had minor illness. 3. Only a small number of patients came to health center when they were ill since they lived near the town. They preferred to go to hospitals and clinics than health centers. The reasons of people for not going to treat at health center were living near the town, they were more convenient to visit hospitals and clinics than health centers, the abilities of village health volunteer and health care workers in treatment of some diseases were limited. They can only give advice and some medicine treatment to treat some simple illness; this could discredit the volunteer staffs and made people to go to other places. Some patients wanted health care workers in health center to visit them. 4. The activities in this health promotion and prevention were: physical examination., health education improving environment hygiene and exercise. For home visit, the researcher found that patients had wrong knowledge about their illness and behave improperly. Health promotion and disease prevention especially in the elderly and children should be implemented continuously in order to create quality of life among these groups.