การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมขนในการมีส่วนร่วมในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและการ ช่วยเหลือผู้ติดเชื้อและครอบครัวในตำบลขุนคง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพคือ ผู้นำชุมชนกรรมการหมู่บ้านและอาสา สมัคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์ประชาชนเรื่องความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับโรคเอดส์และแนวคำถามในการสนทนากลุ่มเป้าหมาย รวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการดำเนินโครงการเพื่อการประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและทดสบอความมีนัยสำคัญทางสถิติด้วยค่าทีไม่อิสระ รวมทั้งวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่มโดยการจัดหมวดหมู่ของคำตอบที่ได้ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การพัฒนาศักยภาพกลุ่มเป้าหมายเริ่มจากกระบวนการเรียนรู้ปัญหาร่วมกันโดยการสนทนากลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หลังจากนั้นดำเนินการประเมิน สถานการณ์ในหมู่บ้านโดยอาสาสมัครสัมภาษณ์ความรู้และทัศนคติของประชาชนเกี่ยวกับโรคเอดส์ตามแบบสัมภาษณ์ ผลที่ได้นำมาเสนอให้กับกลุ่มเพื่อหา แนวทางการแก้ไขร่วมกัน ทั้งนี้มีการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในกลุ่มเป้าหมายโดยการจัดอบรม โดยมีเนื้อหาสอดคล้องกับความต้องการและสภาพปัญหา ที่เกิดขึ้น หลังจากนั้นกลุ่มเป้าหมายได้เสนอโครงการดำเนินกิจกรรมในแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการและงบประมาณบางส่วนของคณะผู้วิจัย และองค์การบริหารส่วนตำบล ในกระบวนการดังกล่าวเป็นการกระตุ้นให้ชุมชนได้ร่วมคิด ร่วมทำ ตระหนักถึงปัญหาในชุมชนและหาทางดำเนินการแก้ไขได้ด้วย ตนเอง ผลจากการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ พบว่ ประชาชนมีความรู้และทัศนคติเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กิจกรรมที่เกิดขึ้นมีทั้งด้านการส่งเสริมเยาวชน ในการเล่นกีฬา การเยี่ยมผู้ป่วยเอดส์และครอบครัว การประสานงานช่วยเหลือเด็กผู้ได้รับผลกระทบ จากกระบวนการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การมีส่วนร่วมของชุมชนซึ่งเริ่มตั้งแต่การค้นหาปัญหาร่วมกัน เสริมจุดอ่อนให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มความรู้ ความ เข้าใจแก่กลุ่มเป้าหมายให้ดีขึ้น จะทำให้ชุมชนสามารถวางแผนแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง เป็นแนวทางที่ควรได้รับการส่งเสริมเนื่องจากเป็นการกระตุ้นให้ชุมชน ตระหนักต่อปัญหา เกิดการยอมรับและนำไปสู่การปฏิบัติที่ยั่งยืนต่อไป This participatory action research aimed to develop the ability of the community for the prevention of HIV and provide counseling and social support for people with HIV/AIDS and their families. The target groups were community leaders, village committees and volunteers. The instruments used in this study were a questionnaire to investigate knowledge and attitudes concerning HIV/AIDS among villagers and an interview guide for focus group discussion. Data were obtained before and after the intervention to evaluate the impact of the program. Descriptive statistics, Pair T-test and content analysis were used for data analysis. The results revealed that; The process of developing the ability of the target groups began with group discussion aimed to find out the problems and needs in the villages, then volunteers assessed the knowledge and attitudes of the villagers. The results from the assessment were presented to the group for planning suitable activites. Training was done to enhance the bnoledge and understanding of the target groups. The contents of the training was based on their needs and problems. The target groups submitted projects for implementing HIV prevention activities in their villages. These projects were supported both technically and fincancially by the research team and village committee organization. The result from this process was, the target groups became increasing self-reliant and established activities to solve the problems in their villages. The effect of the activities to increase knowledge and create more positive attitudes of the villagers with statistically significant. The activities consisted of promoting youth groups to play sport, visit people with HIV/AIDS and provide social support to people who were infected and affected by HIV/AIDS. This study indicated that community participation was the key to success. Participation should be in every step of developing the ability of community to prevention of HIV/AIDS. Providing knowledge and understanding to the target audience will increase their ability to be self-reliant. This method is suggested because it will lead to community acceptance and sustainable activity.