บทคัดย่อ ศตวรรษแห่งผู้สูงวัยเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทั้งเป็นความท้าทายของระบบบริการสุขภาพและสังคมที่ต้องจัดเตรียมบริการเพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าสู่ "ภาวะสูงวัย" ได้อย่างมีความสุข ประการสำคัญผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่เสี่ยงหรือง่ายต่อการเจ็บป่วย จึงเป็นกลุ่มที่มีความต้องการใช้บริการสุขภาพมากที่สุด การทำความเข้าใจในพฤติกรรมแสวงหาการรักษาของผู้สูงอายุ ที่ได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมทางสังคมวัฒนธรรมจึงมีความสำคัญ เพื่อเป็นข้อพิจารณาให้ บริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพสูงสุด การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบพฤติกรรมแสวงหาการรักษาของผู้สูงอายุ กระบวนการตัดสินใจ แสวงหาการรักษา และปัจจัยกำหนดพฤติกรรมแสวงหาการรักษาของผู้สูงอายุ ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ แนวคิด multi - method research ได้นำมา ประยุกต์ในการศึกษาผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 101 คน วิธีหลักของการรวบรวมข้อมูลคือ การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์และการสัมภาษณ์ แบบเจาะลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ครอบคลุมการกำหนดประเด็นหลัก การจัดหมวดหมู่ การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในหมวดต่าง ๆ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมแสวงหาการรักษาของผู้สูงอายุจะเริ่มเมื่อผู้สูงอายุรับรู้และตีความให้ความหมาย ว่าตนเองมีความผิดปกติหรือความเจ็บป่วย โดยผ่านกระบวนการปรึกษาบุคคลในเครือข่ายชุมชน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพ การตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาได้ผ่านกระบวนการการปรึกษาเช่นกัน วิธีการ รักษาของผู้สูงอายุนั้นสะท้อนระบบการแพทย์พหุลักษณ์อย่างชัดเจน และขึ้นกับความเชื่อในสาเหตุและความรุนแรงของความเจ็บป่วย นั่นคือ มีการเลือกใช้ระบบ การดูแลสุขภาพมากกว่า 1 ระบบ ประกอบก้วย ระบบการดูแลสุขภาพภาคสามัญชน ซึ่งเป็นระบบแรกที่ผู้สูงอายุเลือกใช้วิธีการรักษา เมื่อไม่ได้ผลจะเลือกใช้การ รักษาระบบการดูแลสุขภาพภาควิชาชีพและ/หรือภาคพื้นบ้าน หรือเปลี่ยนไปมาระหว่าง 2 ระบบ และที่สำคัญระบบการแพทย์ดั้งเดิมหรือแผนโบราณในระบบดูแล สุขภาพภาคพื้นบ้านยังคงเป็นที่นิยมของผู้สูงอายุในปัจจุบัน ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมแสวงหาการรักษาคือ ปัจจัยด้านผู้ใช้บริการคือผู้สูงอายุ ปัจจัยด้าน ผู้ให้บริการคือ ทีมสุขภาพและปัจจัยด้านระบบบริการสุขภาพที่มีอยู่ในชุมชน ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า พฤติกรรมแสวงหาการรักษาไม่สามารถศึกษาได้เฉพาะในมุมมองทางชีวการแพทย์อย่างเดียว หากมีคุณค่าที่จะ เรียนรู้พฤติกรรมดังกล่าวในมุมมองของผู้สูงอายุภายใต้บริบทของสังคม วัฒนธรรม ดังนั้นการจัดบริการสุขภาพที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ จึงมีความจำเป็นที่ทีมสุขภาพ โดยเฉพาะพยาบาลจะต้องทำความเข้าจในบริบทของสังคมวัฒนธรรมที่มีผลต่อสุขภาพ สาเหตุความเจ็บป่วยและวิธีการจัดการแก้ไข การวางแผนการพยาบาล ที่ "ไว" ต่อ วัฒนธรรม สมควรที่จะมีการผสมผสานความรู้สมัยใหม่และความรู้ดั้งเดิม (ภูมิปัญญาท้องถิ่น) ในประเด็นพฤติกรรมแสวงหาการรักษาของผู้สูงอายุ ทั้งนี้ด้วยคาดหมายที่จะให้บริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมต่อวัฒนธรรม ความเชื่อภายใต้การยอมรับของผู้สูงอายุ Abstract During this century, population aging is widely recognized as the global situation. Such situation is challenging in terms of the provision not only health care system but also social welfare service to enhance successful aging. Since the elders is vulnerabel group to illness particularly, chronic illness, they were the group in most need of health service utilization. An understanding of health seeking behavior influenced by socio - cultural context of environment is, thus, critical. This study , then, was designed aiming to examine the pattern, decision process, and determinant factors regarding health seeking behavior among the elderly residing in Maung District, Chiang Mai. The multi-method research was adopted to study 101 elderly aged at least 60 years old. Data were obtained through the use of focus group discussions, formal interviews and in-depth interviews. Qualitative data were analyzed using content analysis including the main themes, categorization and mapping the connections, while qualitative data analysis was employed descriptive statistics. The major results of this study indicated that health seeking behavior amongst the elderly began at the stage of symptom definition, to perceive and interpret abnormal symptom. This interpretation as well as decision making of abnormal symptom management was confirmed through lay or community network consultation including health professionals. Illness management of the elderly clearly reflected medical pluralism in the existence society. That is, the elderly preferred to utilize at least two health care systems. These included popular sector, folk sector and professional sector. Nonetheless, the elderly preferred to begin illness management in the popular sector. If such management was ineffective, they would interchangeably select management recommended by folk or profession sector. Importantly, folk or tradition sector of health care still remained popularity among the elderly. Determinant factors for health seeking behavior of the elderly included factors related to clients [the elderly], health profession and health care services in the community. These results, hence, indicate that not only having been concerned on Western biomedical perspective of health seeking behavior but also being of great value to learn health seeking behavior of the elderly from a culturally specific perspective. In order to contribute a future culturally 'sensitive' nursing care plan, and integration between modern knowledge and local wisdom regarding health seeking behavior among the elderly is suggested. This is anticipated to provide effective and sensitive care consonant with socio - cultural context of health and illness along with being accepted by the elderly.